วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เศรฐกิจของเกาหลี

ลักษณะทั่วไปทางเศรษฐกิจของเกาหลี

ที่ตั้ง ตั้งอยู่ตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี โดยมีเส้นขนานที่ 38 แบ่งกั้นระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี(เกาหลีใต้) และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
พื้นที่ 99,392 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 45 ของพื้นที่คาบสมุทรเกาหลี (1 ใน 5 ของไทย)
ประชากร 48.2 ล้านคน (ณ มีนาคม 2548)
เมืองหลวง กรุงโซล (Seoul)
เมืองที่สำคัญ ปูซาน แตจอน แตกู อินชอน และกวางจู
สมาชิกสหประชาชาติ 17 กันยายน 2534
GDP ต่อหัว รายได้ต่อหัว (PPP) 22,050 ดอลลาร์สหรัฐ (2548)
หน่วยเงินตรา ประมาณ 1,000 วอน ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ภูมิอากาศ มี 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว เดือน มิ.ย.- ส.ค.เป็นช่วงฝนตกชุก อุณหภูมิโดยเฉลี่ย -5 C ในฤดูหนาว และ 33 C ในฤดูร้อน
ศาสนา มีประชากรนับถือศาสนาพุทธ 46% โปรเตสแตนต์ 39% คาทอลิก 13% ขงจื๊อ 1%และอื่นๆ 1%
การศึกษา ภาคบังคับ 9 ปี
อัตราการรู้หนังสือ ร้อยละ 98
บุคคลสำคัญ : ประธานาธิบดี นาย Roh Moo-hyun (โน มูเฮียน) รับตำแหน่งเมื่อ 25 ก.พ. 2546

เครื่องชี้วัดภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญของเกาหลีใต้


ที่มา: Bank of Korea, Ministry of Finance and Economy, Natinal Statistic Organization,
IMF

จากตารางจะเห็นว่า Normimal GDP ในปี 2547 สูงขึ้นจากปี 2546 15.2 (พันล้าน uss) เนื่องมาจากมูลค่าการค้าระหว่างประเทศได้เปรียบดุลการค้าเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ถึง 7.7 พันล้าน uss ดุล บัญชีเดินสะพัดก็มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ถึง 7.6 พันล้านuss มีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากปี 2546 1.9 พันล้านuss มีทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นจากปี 2546 8.2 พันล้านuss อัตราเงินเฟ้อคงที่ อัตราการว่างงานลดลง 0.1%จากปี 2546 อันเนื่องจากมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
ถึงแม้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะแข็งค่าขึ้นจากปี 2546 7.1 won/uss และการเป็นหนี้ต่างประเทศก็ ยังเพิ่มขึ้นจากปี 2546 12.6 พันล้านuss รวมถึงการลงทุนและการบริโภคภายในประเทศก็มีลักษณะ ชะลอตัวลงจากปี 2546 ซึ่งผลของการที่ การบริโภคและการลงทุนในประเทศลดลงทำให้ Real GDP Growth (%)ลดลงจากปี 2546 ในอัตรา 1.9 ( % )จากความซบเซาอย่างหนักของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปี 2546 ที่มีผลมาจากความตรึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลีเกี่ยวกับปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ ตาม ด้วยผลกระทบจากสงครามอิรัก และการแพร่ระบาดของโรค SARS ประกอบกับการบริโภคและ การลงทุนภาคธุรกิจภายในประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ในปี 2547 นั้นเศรษฐกิจเกาหลีใต้กลับดีขึ้นกว่าในปี 2546 มาได้นั้นเป็นผลมาจากการที่ภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมดีขึ้น โดยเฉพาะ ด้านการค้าที่ได้เปรียบดุลการค้าและมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแทนการบริโภคและการลงทุนที่ชะลอตัวลง
ประวัติศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเกาหลีใต้
เกาหลีใต้มีรายได้ต่อหัวต่อปีประมาณ 100 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 2,000 กว่าบาท
เมื่อทศวรรษ 2490 พ.ศ. เพิ่มเป็น 4,400 เหรียญหรือ 110,000 บาทต่อปี (รายได้ต่อหัวของไทยปี 2532
เท่ากับ 1,230 เหรียญ หรือ30,750 บาทต่อปี) การเปลี่ยนแปลงของเกาหลีใต้รวดเร็วมาก ความสำเร็จ
ในการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจนับเป็นเรื่องน่าทึ่ง แม้ว่าเกาหลีใต้จะเป็นประเทศที่มีทรัพยากรน้อย แต่มีประชากรหนาแน่น มีอัตราความหนาแน่นของประชากรต่อเนื้อที่สูงถึง 440 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งสูงกว่าในอังกฤษในระดับ 33 คนต่อตารางกิโลเมตร แต่ต่ำกว่าบังคลาเทศ ณ ระดับ 756 คนต่อตารางกิโลเมตร ที่ดินส่วนใหญ่เป็นป่าเขา ที่เหมาะจะทำการเพาะปลูกได้มีเพียงร้อยละ 25 และยังมีแร่ธาตุน้อย เพื่อจะเข้าใจว่าเหตุใดเกาหลีใต้จึงพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว และใช้ยุทธวิธีอะไรจึงต้อง ศึกษาประวัติศาสตร์ย้อนไปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยจะแบ่งช่วงการเปลี่ยนแปลงเป็น 3 ช่วง คือ
1. สมัยเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น พ.ศ.2453-2489
2. แผนปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ พ.ศ. 2504-2522
3. เปิดเสรี -ปัจจุบัน
1. ช่วงที่ 1 สมัยเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น พ.ศ.2453-2489
ช่วงที่เกาหลีใต้ตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นนั้น ประเทศมีฐานะยากจน เป็นประเทศกสิกรรม ญี่ปุ่นได้เข้ามาพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก เข้าครอบครองที่ดินบางส่วน จัดระบบการศึกษา โดยใช้ เกาหลีใต้เป็นแหล่งวัตถุดิบและตลาดสำหรับสินค้าญี่ปุ่น
ช่วงตกเป็นอาณานิคม ญี่ปุ่นครอบงำเกาหลีใต้มาก และทารุณกรรมจนคนเกาหลีใต้เกลียดชังญี่ปุ่น ทั้งช่วงปกติและช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้หญิงเกาหลีใต้จำนวนมากต้องเป็นโสเภณี เป็นนางบำเรอให้ทหารญี่ปุ่น ชาวเกาหลีใต้ถูกส่งไปทำงานที่ญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก เมื่อสงครามสิ้นสุดลง ญี่ปุ่นไม่ยอมให้โอนสัญชาติ ยังถือว่าเป็นคนต่างด้าวต้องถูกพิมพ์นิ้วมือ และถูกเหยียดหยามเป็นคนชั้นสองในญี่ปุ่น
เกาหลีเป็นอาณานิคมญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2453 แต่ญี่ปุ่นเข้ามีอิทธิพลในเกาหลีใต้ก่อนหน้านั้น แล้ว โดยบังคับให้เปิดประเทศทำการค้าด้วยตั้งแต่ พ.ศ.2319 ช่วงตกเป็นอาณานิคมนี้ เกาหลีเป็นสังคมเกษตร กว่า 80% ของประชากรเป็นชาวนาและยากจน เศรษฐกิจอยู่ใต้การครอบงำของกษัตริย์ราชวงศ์ยี่ ซึ่งปกครองเกาหลีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 เมื่อถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 24 สังคมเกาหลีก็ยังยากจน ผู้ปกครองคอรัปชั่น และราชวงศ์สนใจแต่พรรคพวกตนเอง ไม่ทำนุบำรุงบ้านเมืองที่ดินทั้งหมดเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน คนธรรมดาเป็นเจ้าของไม่ได้ ผู้เป็นเจ้าของที่ดินคือราชวงศ์ขุนนาง ซึ่งได้รับพระราชทานที่ดินขนาดใหญ่ จึงมีระบบเจ้าที่ดิน (Land Lordism) ต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ร้อยละของชาวนาเป็นผู้เช่านา อำนาจอยู่ที่พระมหากษัตริย์และขุนนาง ผู้คนถูกควบคุมผ่านระบบเจ้าของที่ดิน การสืบทอดมรดกและอภิสิทธิ์ของขุนนาง ลัทธิขงจื้อถูกใช้เป็นเครื่องมือของระบบสังคมที่เป็นชนชั้น และมีการแบ่งชั้นต่ำสูง เป็นข้อจำกัดของการเคลื่อนย้ายทรัพยากรและแรงงงานเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม
ดังนั้นเกาหลีภายใต้ราชวงศ์ยี่ จึงมีระบบเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และถูกครอบงำโดยญี่ปุ่นและจีน ทั้งสองประเทศนี้แย่งกันครอบงำเกาหลี หลังจากจีนแพ้สงครามญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2445 เกาหลีซึ่งเคยอยู่ใต้อิทธิพลของจีนจึงตกเป็นประเทศในครอบครองของญี่ปุ่น ต่อมา พ.ศ. 2453 ญี่ปุ่นรวมเกาหลีเป็นส่วนหนึ่งของประเทศตน ชาวเกาหลีบางส่วนหนีไปแมนจูเรีย เซี่ยงไฮ้ และฮาวาย ญี่ปุ่นครอบครองเกาหลีจนแพ้สงครามโลกครั้งที่2 ในปี พ.ศ. 2488

ผลกระทบของการตกเป็นอาณานิคม มีทั้งส่วนดีและส่วนเสีย
ญี่ปุ่นจำกัดสิทธิเสรีภาพภายใต้การก่อตั้งสมาคม หนังสือพิมพ์ ไม่ให้มีการสอนวิชาภาษาเกาหลี ประวัติศาสตร์เกาหลีในโรงเรียนไม่ได้ช่วยปรับปรุงสภาพการถือครองที่ดินภาคเกษตร โดยในปี พ.ศ. 2456 ร้อยละ 40 ของครอบครัวชาวนาชาวไร่เป็นผู้เช่านาล้วน ๆ ประมาณร้อยละ 80 มีลักษณะเป็นผู้เช่าหรือเช่าบางส่วน เมื่อถึงทศวรรษ 2460 ประมาณกันว่ามากกว่าร้อยละ 50 ของผู้เช่ามีระดับการครองชีพต่ำกว่าระดับพอยังชีพขั้นพื้นฐาน หลาย ๆ คนไม่อาจจ่ายภาษี ทำให้ที่ดินตกเป็นของรัฐบาลอาณานิคมญี่ปุ่น ชาวนาจำนวนมากต้องถูกไล่ออกจากที่ดินและอพยพย้ายออกไปต่างประเทศ
ช่วงที่เกาหลีตกเป็นอาณานิคมญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเข้าเป็นเจ้าของที่ดินในภาคเกษตร ไม่ได้เข้ามาช่วยพัฒนาอะไรมาก ไม่ได้ช่วยสร้างผลผลิตส่วนเกินภาคเกษตร แต่เก่งในการดูดเอาส่วนเกินออกไป (ในรูปค่าเช่า ดอกเบี้ย) มูลค่าค่าเช่าคิดเป็นร้อยละ 50 ของผลผลิต และในเขตอุดมสมบูรณ์ภาคใต้ค่าเช่าอาจสูงถึงร้อยละ 90 นอกจากนี้รัฐบาลเจ้าอาณานิคมยังเก็บภาษีข้าวจากชาวนาทศวรรษ 2470 ร้อยละ40 ของผลผลิตถูกส่งออกขายนอกจากนี้ยังเก็บภาษีรายได้ของชาวนา
ดังนั้น ช่วงพ.ศ. 2453-2483 ผลผลิตเกษตรเพิ่มร้อยละ 74 ข้าวที่บริโภคเฉลี่ยต่อคนลดลง นอกจากภาคเกษตรจะถูกดูดส่วนเกินออกไปในรูปของค่าเช่า ทำให้ชาวนายากจนแล้ว ในภาคเมืองคนจนเมืองก็เกิดขึ้น ข้อมูลที่มีแสดงว่าช่วง พ.ศ.2453-2483 รายได้ของคนงานในเมืองโดยเฉลี่ยลดลงร้อยละ 33 รัฐบาลญี่ปุ่นที่ครอบครองเกาหลีอยู่ ไม่ส่งเสริมการลงทุนของเกาหลี และสนับสนุนให้ชาวญี่ปุ่นได้เข้ามาครอบงำธุรกิจทุกสาขา
ผลกระทบของญี่ปุ่นในด้านความเปลี่ยนแปลงและความทันสมัย
เมื่อญี่ปุ่นเข้ามาครอบครอง ได้ยกเลิกระบบกษัตริย์ ระบบเศรษฐกิจเกษตรถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นการผลิตเพื่อการค้าอย่างกว้างขวาง ขยายและส่งเสริมระบบถือครองที่ดินโดยเอกชน
ผลผลิตภาคเกษตร เจริญเติบโตในอัตราเดียวกับอัตราการเพิ่มของประชากรแต่ผลผลิตภาค อุตสาหกรรมเพิ่มรวดเร็วกว่า
อุตสาหกรรมสมัยตกเป็นอาณานิคม
ญี่ปุ่นใช้เกาหลีเป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการสะสมอาวุธในการทำสงคราม
โลกครั้งที่สอง นับตั้งแต่ทศวรรษ 2470 อันเป็นระยะเดียวกับที่ญี่ปุ่นได้บุกแมนจูเรีย (พ.ศ.2474) และ
เข้าครอบครองภาคใต้ของจีน (พ.ศ. 2480)
ญี่ปุ่นบังคับให้แรงงานเกาหลีออกจากนามาทำงานโรงงานของพวกเขา ปลายทศวรรษ 2470
นั้น สัดส่วนของการผลิตอุตสาหกรรมในเกาหลีมีถึงร้อยละ 29 ของ GDP ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงมาก แม้เมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว อุตสาหกรรมดังกล่าวส่วนใหญ่อยู่ในที่ที่เป็นเกาหลีเหนือในปัจจุบัน
เป็นอุตสาหกรรมหนักเช่น เหล็ก ถ่านหิน แต่การเกษตร อุตสาหกรรมเบา เช่น สิ่งทอ และการผลิต
เครื่องจักรบางส่วนอยู่ในเขตภาคใต้ ซึ่งมีประชากรหนาแน่นกว่า
การพัฒนาความเป็นเมืองขยายตัวขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุตสาหกรรม ญี่ปุ่นเข้าครอบครอง
เกาหลี กรุงโซล (Seoul) มีประชากรเพียง 200,000 คน พอสิ้นสุดการตกเป็นอาณานิคม (2488) เพิ่ม
เป็น 1 ล้านกว่าคน
การพัฒนาอุตสาหกรรมของเกาหลี เกี่ยวโยงกับการค้ากับญี่ปุ่นสูงมาก ทำให้มีลักษณะ
เศรษฐกิจเปิด กล่าวคือสัดส่วนการค้า สินค้าส่งออก-นำเข้า สูงถึงร้อยละ 50 ของ GDP
การตกเป็นอาณานิคม ทำให้เกาหลีมีความรู้สึกชาตินิยมสูงคือแนวคิดชาตินิยมสะสมมาตั้งแต่
ช่วงตกเป็นอาณานิคม เกาหลีเป็นชนชาติที่ได้มีประวัติศาสตร์และความเป็นชาติเกาหลีมาก่อนแล้ว
มากกว่า 2,000 ปี มีภาษาที่แตกต่างจากจีนและญี่ปุ่น และลักษณะประชากรคล้ายคลึงกันมาก มีชนก
ลุ่มน้อยไม่มาก คือผู้คนส่วนใหญ่เป็นชนชาวเกาหลี ดังนั้นเมื่อถูกครอบครองโดยญี่ปุ่น จึงทำให้เกิด
ความรู้สึกต่อต้าน และมีความชาตินิยมสูง
โดยสรุปผลกระทบของการตกเป็นอาณานิคม มีทั้งบวกและลบ
1. แม้จะถูกข่มเหงเอาเปรียบจนทำให้แนวคิดชาตินิยมรุนแรงแต่ช่วงอาณานิคมเกิดการพัฒนา
อุตสาหกรรม การพัฒนาเมือง และการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศ
2. กล่าวกันว่าญี่ปุ่นได้สร้างรากฐานทางด้าน ความรู้สึกชาตินิยม การยกเลิกระบบกษัตริย์
การพัฒนาอุตสากรรมเมือง การค้า นำไปสู่ประสบการณ์ในการทำงานแบบสังคมอุตสาหกรรม
สิ่งเหล่านี้ถือเป็นรากฐานที่มีส่วนผลักดันให้ความพยายามพัฒนาอุตสาหกรรมเกิดขึ้นได้รวด
เร็ว เมื่อเกาหลีพัฒนาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
สงครามเกาหลีและผลกระทบ (พ.ศ. 2489-2503)
หลังจากที่ญี่ปุ่นต้องปลดปล่อยเกาหลีเพราะเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ก็เกิดสงครามกลาง
เมืองขึ้น ทำให้เกาหลีต้องแบ่งแยกประเทศออกเป็นเหนือและใต้ เกาหลีเหนือเป็นคอมมิวนิสต์ เนื่อง
จากสนิทชิดชอบกับกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ เกาหลีใต้อยู่ภายใต้อิทธิพลของสหรัฐฯ เราจะ
วิเคราะห์เฉพาะเกาหลีใต้ จะเห็นว่าหลังสงครามเกาหลี เกาหลีใต้อยู่ภายใต้การช่วยเหลือของสหรัฐฯ
ได้พัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว

การถอนตัวของญี่ปุ่น และการแบ่งแยกดินแดน
หลังจากที่ญี่ปุ่นต้องถอนตัวออกไป หลังแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง เกาหลีทั้งประเทศเป็น
อิสระ แต่สถานภาพทางการเมืองระส่ำระสาย อำเภอต่าง ๆอยู่ในความดูแลของรัสเซีย และอเมริกาก็
ได้เข้ามาช่วยทำสงครามสหรัฐฯ มีอิทธิพลมากในภาคใต้ ขณะที่รัสเซียมีอิทธิพลมากในภาคเหนือ
เมื่อสงครามจบใหม่ ๆ ยังไม่มีรัฐบาลแน่นอน ในขณะเดียวกันก็เกิดการลุกฮือของมวลชนตามเขตต่าง
ๆ เพื่อขับไล่ญี่ปุ่นออกไป มีการก่อตั้งคณะกรรมการประชาชน (People’s Committee) ในภาคใต้ เพื่อ
บริหารเขตท้องถิ่นของตน จับกุมญี่ปุ่น ปลดอาวุธญี่ปุ่น ปลดปล่อยนักโทษการเมือง และลงโทษผู้
ร่วมมือกับญี่ปุ่น
ในโรงงานมีการก่อตั้งสหภาพแรงงานอย่างกว้างขวาง รวมตัวกันเป็นองค์กรกลางของสห
ภาพแรงงาน และได้ทำการสไตร์คทั่วไปเมื่อ พ.ศ. 2489 ในชนบทก็มีการเรียกร้องให้แก้ปัญหาผู้เช่าที่
ดิน และมีการวางแผนจัดแบ่งที่ดินใหม่ มีการก่อตั้งรัฐบาลเรียกว่า Korean People’s Republic
แต่เมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามแล้ว และทหารสหรัฐฯได้เข้ามาประจำเกาหลีใต้ สหรัฐฯเข้ามามี
บทบาทการก่อตั้งรัฐบาลและดำเนินนโยบายอื่น ๆ อีกหลายประการ
1.สหรัฐฯ ไม่ยอมรับรัฐบาลที่ก่อตั้งขึ้นมาโดยชาวเกาหลี (Korean People’s Republic) แต่ได้
สนับสนุนให้ผู้นำที่เคยทำงานภายใต้ญี่ปุ่น มีลักษณะอนุรักษ์นิยม ต่อต้านคอมมิวนิสต์ และต่อต้าน
ญี่ปุ่นขึ้นมาเป็นใหญ่ กลุ่มนี้นำโดยซิงมันรี (Syngman Rhee) สหรัฐฯสนับสนุนกลุ่มสหภาพแรงงาน
ของตนขึ้นมาด้วย
2.การกระทำของสหรัฐฯ นำไปสู่การต่อต้านจากกลุ่มหัวก้าวหน้า รวมทั้งสหภาพแรงงาน ซึ่ง
ได้เรียกร้องให้มีการนัดหยุดงานขนานใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2489 กลุ่มของสหรัฐฯ จัดการกับพลังมวลชน
เหล่านั้นอย่างรุนแรง และคนงานจำนวนมากเสียชีวิตในการเดินขบวน
3.หลังจากนั้นก็ได้มีการนำกฎอัยการศึกมาใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มที่เป็นปรปักษ์ และ
ต่อต้านสหรัฐฯขึ้นมาเป็นใหญ่ได้
4.พ.ศ. 2491 มีการเลือกตั้งทั่วไป พรรคอนุรักษ์นิยมที่สหรัฐฯสนับสนุน 2 พรรคได้เสียงข้าง
มาก และซิงมันรีได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี หลังจากนั้นก็มีการกวาดล้างผู้ต่อต้านรัฐบาล กล่าวกัน
ว่าผู้คนกว่า 90,000 คนถูกจับเข้าคุกหรือคุมขังระหว่างปี 2491-2492
5.ที่ภาคเหนือนั้น รัสเซียก็สนับสนุนช่วยก่อตั้งรัฐบาลที่มีความนิยมโซเวียต และลัทธิ
คอมมิวนิสต์ขึ้นมา ดังนั้นช่วงปี พ.ศ. 2491-2492 จึงเกิดมีรัฐบาลที่ภาคเหนือโดยมีโซเวียตหนุน ภาค
ใต้มีรัฐบาลหนุนโดยสหรัฐฯ ทั้ง 2 รัฐบาลมีอุดมการณ์ทางการเมืองต่างกันไป และเป็นต้นตอของ
ความแตกแยกอันนำไปสู่สงครามเกาหลี

การปฏิรูปและการจัดสรรที่ดิน
ได้กล่าวแล้วถึงการที่เกาหลีใต้มีชาวนาเช่าในอัตราสูง และส่วนใหญ่ยากจน ดังนั้นชาวนาที่มี
ปัญหาจึงเรียกร้องให้ปฏิรูปที่ดินหลังญี่ปุ่นแพ้สงคราม ตัวอย่างการปฏิรูปที่ดินที่โซเวียตที่รัสเซียนำ
มาใช้ที่เกาหลีเหนือทำให้เกิดความพยายามจะจัดสรรที่ดินให้ชาวนายากจนขึ้นในภาคใต้ด้วย
มีความพยายาม 2 ช่วงด้วยกันคือ
1.พ.ศ. 2492 สหรัฐฯ จัดสรรที่ดินซึ่งเคยตกอยู่ภายใต้การครอบครองของญี่ปุ่น โดยกำหนด
มูลค่าขาย 3 เท่าของผลผลิต แล้วให้ผู้ซื้อจ่ายเงินเป็นงวดภายใน15 ปี โดยจ่ายเป็นผลผลิตร้อยละ 20
ของผลผลิตทั้งหมด
2.พ.ศ. 2493 ได้มีการออกกฎหมายปฏิรูปที่ดินให้อำนาจรัฐบาลบังคับซื้อที่ดินจากผู้ที่มีที่ดิน
มากกว่า 18.75 ไร่ แล้วเอามาขายให้ผู้ไม่มี ตามแนวเดียวกับที่กล่าวแล้ว รัฐบาลมิได้ซื้อที่ดินเป็นเงิน
สดโดยทันที แต่จ่ายให้เป็นพันธบัตร พวกเจ้าของที่ดินก็ไม่อยากเก็บพันธบัตรไว้ส่วนใหญ่ขายคืนให้
รัฐบาล
การปฏิรูปที่ดินมีผล คือ
- ปรับเปลี่ยนโครงสร้างสังคมเกาหลีใต้ โดยลดจำนวนและบทบาทเจ้าของที่ดินลงไป ทำลาย
เจ้าของที่ดินขนาดใหญ่ ซึ่งเคยมีอิทธิพลเหนือองค์กรต่างๆของสังคม (เกิดขึ้นพร้อมกับการหมด
อำนาจของญี่ปุ่น) อันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม และพัฒนาการของชนชั้นนายทุน
- การจัดสรรที่ดิน ให้ชาวนาไร้ที่ดินและการกำหนดขนาดที่ดิน ถือครองให้ทัดเทียมกันการ
กระจาย ทรัพย์สินสำคัญคือที่ดิน ทำให้การกระจายรายได้ดีขึ้น เป็นฐานของตลาดอุตสาหกรรม
- การที่รัฐขายที่ดินโดยให้ผู้ซื้อจ่ายเป็นผลผลิต เป็นวิธีบังคับซื้อผลผลิตส่วนเกินราคาถูก แล้ว
รัฐบาลเอาไปขายราคาแพง มีความพยายามช่วยเหลือด้านปัจจัยการผลิต และวิธีการผลิตด้วย เป็นวิธี
เก็บภาษีชาวนาโดยไม่ทำให้เกิดปัญหา
ปัจจุบันครัวเรือนเกษตรเกาหลี จะมีที่ดินระหว่าง 0.15-1.5 เฮคตาร์ (0.9-3ไร่) โดยกฎหมาย
บังคับว่าจะมีที่ดินมากกว่า 18.75 ไร่ไม่ได้ แต่จริงๆก็มีผู้มีที่ดินมากกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นกรณี
เฉพาะ คิดเป็นร้อยละ 1.2 ของครัวเรือนทั้งหมด
ความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา และการพัฒนาอุตสาหกรรม
สหรัฐอเมริกาให้ความช่วยเหลือแก่เกาหลีใต้มาก และเงินเหล่านี้มีบทบาทสำคัญช่วย
สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม ระหว่างพ.ศ. 2488-2521 ความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาให้แก่
เกาหลีใต้มีมูลค่ากว่า 6 พันล้านเหรียญ ซึ่งเท่ากับเงินที่ช่วยทวีปอาฟริกาทั้งทวีปในช่วงเดียวกัน
ในพ.ศ. 2499-2501 เงินความช่วยเหลือคิดเป็นร้อยละ 15 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ หรือGNP (Gross National Product) หรือเท่ากับร้อยละ 80 ของรายได้จากการส่งออกของเกาหลีในช่วง
นั้น
บทบาทของเงินความช่วยเหลือที่สำคัญ
1) ช่วยปลดเปลื้องภาวะที่รัฐบาลต้องเอาเงินงบประมาณประจำปีมาใช้จ่ายทางการทหาร ทำ
ให้สามารถเอาเงินรายได้จากภาษีไปใช้จ่ายด้านเศรษฐกิจและด้านอื่นได้เต็มที่
2) ทำให้รัฐบาลเกาหลีใต้สามารถเพิ่มจำนวนข้าราชการในสังกัดได้เป็นจำนวนมาก และมีเงิน
ลงทุนด้านการศึกษาจนแรงงานเกาหลีใต้เป็นแรงงานที่มีการศึกษาสูงประเทศหนึ่ง
3) เงินจากสหรัฐฯ ทำให้เกาหลีใต้มีเงินตราต่างประเทศซื้อเครื่องจักร และสินค้าทุน และวัตถุ
ดิบจากต่างประเทศที่เกาหลีผลิตเองไม่ได้ประกอบกับความสนับสนุนธุรกิจขนาดใหญ่ของรัฐบาล จึง
ทำให้เกิดธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่เรียกว่า chaebols ในยุคนี้ (พ.ศ. 2493+) อุตสาหกรรมของ
เกาหลีเจริญเติบโตมาก และมีการลงทุนโดยการสนับสนุนจากรัฐในภาคอุตสาหกรรมกว้างขวาง รวม
ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม บุหรี่ และอุตสาหกรรมทอผ้า (2/3 ของมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรม) อุตสาหกรรม
สำคัญอื่นๆก็มีกระดาษ เหล็กกล้า น้ำมัน การผลิตอุตสาหกรรมในยุคนี้ (ทศวรรษ 2490 และ 2500)
เป็นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าหรือสนองความต้องการตลาดภายในเป็นหลัก อุตสาหกรรมได้รับ
การอุดหนุนจากรัฐบาลเกาหลีซึ่งส่วนหนึ่งก็คือ เงินจากสหรัฐฯ ผู้ศึกษาเกาหลีใต้มีข้อสรุปว่าการ
พัฒนาอุตสาหกรรมในสมัยนี้ได้รับการอุดหนุนจากเงินสหรัฐฯ ปลายทศวรรษ 2490 มูลค่าสินค้านำ
เข้าคิดเป็นเพียงร้อยละ 10 ของ GNP คือระบบเศรษฐกิจแทบจะไม่สามารถหารายได้จากการส่งออก
ได้เลย เงินส่วนใหญ่ที่ใช้พัฒนาและซื้อสินค้าเข้าจึงมาจากสหรัฐฯ เสียส่วนมาก
4) อลิศ แอมสเด็น ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจเกาหลีใต้ชี้ให้เห็นว่า เกาหลีใต้มีคอรัปชันสูงใน
บรรดานักการเมืองช่วงพ.ศ. 2491-2503 นักการเมืองและนักธุรกิจที่มีเส้นสายสามารถซื้อที่ดินที่เคย
เป็นของญี่ปุ่นราคาถูกๆ ได้รับเงินกู้ราคาถูก นักธุรกิจที่มีเส้นสายจะได้รับอภิสิทธ์ต่างๆทำให้ธุรกิจ
ของตนก้าวหน้ากว่าผู้ไม่มีเส้นสาย ซึ่งอลิศชี้ว่า สถานการณ์เช่นนี้จะคงอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีเงินอัดฉีด
จำนวนมากจากสหรัฐฯ และถ้าสหรัฐฯไม่ช่วยเหลือด้านการทหาร โดยสนับสนุนระบบเผด็จการ
ทหารด้วย ทำให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการคอรัปชันของทหารและข้าราชการไม่สามารถออกมาวิจารณ์รัฐ
บาลได้
รัฐบาลเผด็จการทหารภายใต้การนำของประธานาธิบดีซิงมันรี คงอยู่ได้จนถึงพ.ศ. 2500 ก็
เพราะสหรัฐฯ เมื่อสหรัฐฯ ยุติการสนับสนุนในปีนั้น หลังจากที่นักศึกษาเดินขบวนแล้ว ตำรวจยิงใส่
พวกเดินขบวนและยิงนักศึกษาตายไป ประธานาธิบดีถูกบังคับให้ลาออก
รัฐบาลใหม่ที่เข้ามาก็เป็นรัฐบาลที่สหรัฐฯสนับสนุน โดยเข้ามาด้วยคำขวัญ “พัฒนาเศรษฐกิจ
เป็นอันดับแรก” และตอบสนองความต้องการของจากสหรัฐฯ ซึ่งประธานาธิบดีซิงมันรีเคยปฏิเสธ
ก่อนหน้านี้ นั่นคือข้อเรียกร้องจากสหรัฐฯ ให้รัฐบาลเกาหลีใต้ดูแลการใช้เงินความช่วยเหลืออย่างรัด
กุมขึ้น และขอให้รัฐบาลเกาหลีใต้ลดค่าเงินวอน

โดยสรุป ช่วง 15 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีใต้ถูกผลกระทบจากสงครามอย่างมาก
ประชากรล้มตายประมาณ 1 ล้านคน อุตสาหกรรมก็ชะงักงัน โดยครึ่งหนึ่งของการผลิตถูกทำลาย การ
ฟื้นฟูหลังสงครามกระทำได้ด้วยความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ และโดยใช้มาตรการกระจายที่ดินให้กับ
ผู้ไม่มีที่ดินและผู้เช่านา ทำให้ผลผลิตเกษตรเพิ่มและราคาอาหารถูกลง และมีผลดึงการลงทุนออกจาก
การเก็งกำไรที่ดินมาสู่การลงทุนอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเจริญรวดเร็วช่วงพ.ศ. 2496-2501 สาขา
อุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิมขยายไปสู่สาขาอื่นๆ ธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่เรียกว่าแชโบลส์
(Chaebols : กลุ่มธุรกิจที่ควบคุมโดยครอบครัว) ได้รับประโยชน์จากเงินความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ
ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมและด้วยความสนับสนุนอุดหนุนจากรัฐบาลเกาหลีใต้เอง ทั้งในด้านการ
อุดหนุนอย่างเป็นทางการและผ่านการคอรัปชัน อุตสาหกรรมโดยทั่วไปเป็นอุตสาหรรมทดแทนการ
นำเข้า



วิเคราะห์ตามการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงที่ 1
การที่เกาหลีใต้เป็นเมืองขึ้นของจีนและญี่ปุ่นส่งผลอย่างรุนแรงต่อการพัฒนาประเทศ การ
พัฒนาเศรษฐกิจในช่วงต้นของเกาหลี เป็นช่วงที่ลักษณะเศรษฐกิจยังเป็นเกษตรกรรม และจากการ
ถูกครอบครองโดยญี่ปุ่น เพื่อใช้เกาหลีเป็น
- ฐานการผลิตอุตสาหกรรมทหาร
- ตลาดกระจายสินค้า
- จุดยุทธศาสตร์ในการแผ่ขยายอิทธิพลเข้าสู่ประเทศจีน
ทำให้เกิดกลุ่มผูกขาดภายในประเทศ ซึ่งติดต่อทางการค้ากับญี่ปุ่น เป็นกลุ่มที่มีอำนาจจัดสรร
ทรัพยากรในประเทศ กลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของเกาหลี นอกจากนี้ญี่ปุ่นได้เข้ามา
จัดระบบการครอบครองที่ดินโดยใช้ระบบเช่าที่ดินต่อจากคนญี่ปุ่น
ผลก็คือ ทำให้ระบบเศรษฐกิจของเกาหลียังคงเป็นเกษตรกรรมยากจน รายได้ต่อหัว(Income
per capita) ยังอยู่ระดับต่ำจึงเป็นการยากที่จะพัฒนาเศรษฐกิจได้ (Impossible development) ภาย
หลังที่ญี่ปุ่นแพ้สงคราม สหรัฐอเมริกาได้เข้ามามีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจเกาหลีเป็นอย่างมาก จะเห็นได้
จากลักษณะการพึ่งพาสหรัฐอเมริกา โดยพิจารณาได้จาก เงินอุดหนุนจากสหรัฐอเมริกาเป็นสัดส่วน
สูงต่อ GDP (ตั้งแต่ปี 2523)
ในเวลาต่อมาสหรัฐอเมริกาเข้ามามีอิทธิพลในคาบสมุทรเกาหลี จนทำให้เศรษฐกิจของ
เกาหลีขยายตัว แต่ภาคการเกษตรกรรมก็ยังคงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจอยู่เช่นเดิม





2. ช่วงที่ 2 แผนปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ พ.ศ. 2504-2522
ทศวรรษ 2500 คนเกาหลีใต้ยังยากจนร้อยละ 80 ของรายได้ โดยเฉลี่ยใช้ซื้ออาหาร ที่อยู่ เสื้อ
ผ้า เชื้อเพลิง อัตราการตายของทารกเท่ากับ 64 ต่อ 1000 เทียบกับ 24 ต่อ 1000 ในประเทศพัฒนาแล้ว
ร้อยละ 18 ของครัวเรือนเท่านั้นที่มีน้ำประปาใช้ แต่ได้มีรากฐานของการพัฒนาเกิดขึ้นแล้วคือ ทาง
ด้านการศึกษา
พ.ศ. 2508 ร้อยละ 35 ของคนในกลุ่มอายุที่ควรเรียนมัธยมได้เรียนมัธยม และร้อยละ 6 ของ
คนในกลุ่มอายุ 18-21 ปีได้เรียนระดับสูงขึ้นไป ช่วงที่ตกเป็นอาณานิคม อุตสาหกรรมได้พัฒนาไป
บ้างแล้ว
พ.ศ. 2490 อุตสาหกรรมขยายเพื่อสนองตอบอุปสงค์ภายในเป็นหลัก อุปสงค์นี้เพิ่มขึ้นจาก
การที่การปฏิรูปและนโยบายกระจายที่ดินทำให้รายได้ของคนส่วนใหญ่คือ ชาวนาเพิ่มขึ้น เสริมด้วย
ผลบวกจากการได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ
พ.ศ. 2503-2523 ผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ต่อปี
ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านอุตสาหกรรมในช่วงเวลานี้เป็นผลมาจากการที่รัฐบาลเกาหลี
นำโดย ปัก จุง ฮี (Park Chung Hee) มีการเข้าแทรกแซงอย่างมาก เริ่มมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504 – 2508) ซึ่ง ตลอดระยะเวลาของแผนนี้ ระบบเศรษฐกิจจะเป็นในรูปแบบของ
“ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมแบบมีการชี้นำ” (guided capitalism) โดยจะมีการปฏิบัติตามหลักการของ
ระบบการประกอบการเสรี และมีการเคารพเสรีภาพความคิดริเริ่มขององค์กรเอกชน แต่รัฐบาลอาจ
จะเข้ามีส่วนร่วมโดยตรงหรืออาจจะให้ข้อแนะนำโดยทางอ้อมแก่อุตสาหกรรมพื้นฐาน หรือด้านอื่นๆ
ที่สำคัญ เช่น การส่งเสริมธุรกิจส่งออก ควบคุมการเงินการธนาคาร มีบทบาทสำคัญในการพัฒนา
กำลังคน และอื่นๆอย่างกว้างขวางโดยไม่ล้มเลิกระบบตลาด กล่าวคือ ใช้ระบบเอกชน แต่ไม่ได้เสรี
เต็มที่ดังที่เข้าใจกัน
สำหรับนโยบายการค้า หลายประเทศในเอเชียตะวันออก พัฒนาอุตสาหกรรมโดยส่งเสริม
เขตเศรษฐกิจเพื่อการส่งออก (Export Processing Zone หรือ EPZ) หรือเขตอุตสาหกรรมส่งออกและ
ปลอดภาษี แต่สินค้าที่ผลิตจาก EPZ แล้วส่งออกเป็นเพียงร้อยละ 5 ของสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกทั้ง
หมดของเกาหลีใต้เมื่อทศวรรษ 2520
ในระยะแรกๆ อุตสาหกรรมขยายเพื่อสนองตลาดภายใน ต่อมาเมื่อเงินความช่วยเหลือจาก
สหรัฐฯ ลดลงปลายทศวรรษ 2500 จึงหันไปส่งเสริมอุตสาหกรรมส่งออกด้านนโยบายการค้าระหว่าง
ประเทศ ในช่วง พ.ศ.2504-2522 เกาหลีใต้มีนโยบายดังต่อไปนี้คือ
1.ควบคุมการนำเข้าค่อนข้างเข้มงวดโดย ให้นำเข้าเฉพาะที่จำเป็น และถ้าการนำเข้านำไปสู่
การส่งออก มีการห้ามนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย
2.อุตสาหกรรมภายในได้รับการคุ้มครองอย่างมาก โดยการตั้งกำแพงภาษีสูง พ.ศ.2511 อัตรา
การคุ้มครองจริง (Effective Rate of Protection) สูงถึงร้อยละ 92 สำหรับสินค้าที่แข่งกับสินค้านำเข้า
แต่อุตสาหกรรมที่ได้รับการคุ้มครองต้องส่งออกด้วย มีการลดค่าเงินวอนเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐฯ ทำ
ให้สินค้านำเข้าแพง สินค้าออกในตลาดโลกมีราคาลดลง
นโยบายด้านเครดิต และการส่งเสริมการลงทุนภาคอุตสาหกรรม
ทศวรรษ 2500 ธนาคารเป็นของรัฐบาล ดังนั้นรัฐบาลจึงใช้ธนาคารเหล่านี้เป็นเครื่องมือเพื่อ
การระดมเงินออมจากประชาชน ในขณะเดียวกันก็ใช้นโยบายการเกื้อหนุนนักลงทุนโดยคิดดอกเบี่ย
ราคาถูกในการให้กู้ระยะยาวเพื่อการอุตสาหกรรม โดยเฉพาะถ้าเป็นธุรกิจส่งออกจะได้รับการ
อุดหนุนเป็นพิเศษ การศึกษาของธนาคารโลกสรุปว่า เกาหลีใต้ควบคุมระบบธนาคารอย่างเคร่งครัด
และประสบความสำเร็จทำให้ระบบธนาคารของรัฐเป็นเครื่องมือส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรม ทศ
วรรษ 2500 และ 2510 รัฐบาลวางนโยบายกดดอกเบี้ยให้ต่ำโดยตลอดเพื่อส่งเสริมการลงทุน(World
Development Report 1989)
นอกจากจะใช้นโยบายให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำแล้วยังมีการกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อลงทุน
อุตสาหกรรมด้วยในทศวรรษ 2510 โดยเฉพาะ พ.ศ. 2517 กู้เงินมาเพราะต้องนำมาเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อ
ราคาน้ำมันสูงขึ้น ทำให้การเป็นหนี้ต่างประเทศและอัตราการชำระหนี้สูงขึ้น
การก่อหนี้ต่างประเทศไม่ได้สร้างปัญหาให้กับเกาหลีใต้มากมายเพราะ


1.หนี้ส่วนใหญ่เป็น
หนี้ระยะยาว และนำไปใช้ได้ผล ดังนั้นเมื่อถึงเวลาชำระหนี้จึงมีเงินตราต่างประเทศจากการส่งออก
เพียงพอ


2.รัฐบาลวางมาตรการรัดกุมเพื่อลดต้นทุนการใช้น้ำมัน เมื่อน้ำมันมีราคาแพงขึ้น
ความหลากหลายของอุตสาหกรรม
การพัฒนาอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้เป็นขั้นตอนดังนี้คือ เริ่มด้วยอุตสากรรมทดแทนการนำ
เข้าประเภทสินค้าบริโภค เช่น ทอผ้าและอุตสาหกรรมเบาอื่นๆ แล้วขยายไปสู่อุตสาหกรรมหนัก เช่น
เหล็ก รถยนต์ ปิโตรเคมี ในด้านการลงทุนจากต่างประเทศ รัฐบาลแยกชัดเจนระหว่างการลงทุนโดย
ตรงจากต่างประเทศและการผลิตภายใต้สัญญาที่เรียกว่า Licensing





การลงทุนจากต่างประเทศและความเป็นเจ้าของ
รัฐบาลเกาหลีใต้ไม่ส่งเสริมให้ต่างชาติเข้าเป็นเจ้าของกิจการในประเทศโดยไม่จำเป็น ดังนั้น
ธุรกิจต่างชาติมีน้อย ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคส์ ระหว่าง พ.ศ. 2505-2522 การลงทุน
โดยตรงจากต่างประเทศมีเพียงร้อยละ 1.2 ของเงินลงทุนทั้งหมดภายในประเทศ สัดส่วนของ FDI ใน
GNP น้อยกว่าครึ่งหนึ่งขงสัดส่วนในอาร์เจนตินา บราซิล เม็กซิโก
ธุรกิจอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้อยู่ในกำมือของธุรกิจขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Chaebols มีครอบ
ครัวใหญ่เป็นเจ้าของมีลักษณะเหมือน Zaibatsu ของญี่ปุ่น ตรงที่ว่าประเภทสินค้าผลิตโดยแชโบส์มี
หลากหลายและเกี่ยวโยงกัน
กลุ่มแชโบลส์ใหญ่ๆ เช่น ฮุนได(Hyundai) ผลิตรถยนต์ ก่อสร้าง ซีเมนต์ ต่อเรือ และเหล็ก
กล้า
ซัมซุง(Samsung) ทำกิจการ สถานเริงรมย์ โรงแรม หนังสือพิมพ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็คทรอนิคส์
แดวู(Daewoo) ทำกิจการต่อเรือ และอิเล็คทรอนิคส์ ลักกี้ โกลสตาร์(Lucky Goldstar) ผลิตพลาสติก
และอิเล็คทรอนิคส์
แชโบลล์ มีขนาดใหญ่มาก แต่อยู่ในความควบคุมของรัฐบาล เพราะพึ่งเครดิตราคาถูกจากรัฐ
บาล พวกบริษัทใหญ่ๆ จะใช้ระบบการผลิตทั้งที่ตนเองผลิตเอง และส่งเหมาช่วงงาน(sub-contract)
ให้แกธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดังนั้น ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กจะโยงเกี่ยวกับธุรกิจ
ขนาดใหญ่ คือพวกแชโบลส์ โดยระบบเหมาช่วงงาน คล้ายๆกับในญี่ปุ่น ทำให้ธุรกิจขนาดเล็ก
สามารถเพิ่มผลิตภาพ บางทีได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิคและการเงินจากธุรกิจขนาดใหญ่ การที่
บริษัทขนาดใหญ่ได้รับความเกื้อหนุนจากรัฐบาล ทำให้เกิดการกระจุกตัวของอำนาจทางเศรษฐกิจ
และการเมือง
เทคโนโลยี
การยืมเทคโนโลยีต่างจากการที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีของเกาหลีใต้ในช่วง 50ปีที่ผ่านมา การ
ยืมเทคโนโลยีเป็นของธรรมดาที่เกิดขึ้นทั่วไป อาจจะมีข้อยกเว้นในกรณีของอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศ
พัฒนาอุตสาหกรรมเริ่มแรก ต้องคิดเทคโนโลยีเองส่วนใหญ่
กรณีเกาหลีใต้ แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการนำเข้าเทคโนโลยีที่เหมาะสม เอามาปรับ
กับสภาพท้องถิ่น และนำมาปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น ยกตัวอย่างบริษัทผลิตเหล็กโปฮัง (Pohang Steel
Company) เริ่มแรก ยืมเทคโนโลยีมาจากญี่ปุ่น 10กว่าปีต่อมา สามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้เองจนขาย
เทคโนโลยีให้สหรัฐอเมริกาได้
เหตุใดที่เกาหลีใต้จึงสามารถปรับปรุงเทคโนโลยีของตัวเองได้ คำตอบก็คือ การเข้าแทรกแซงของรัฐ
บาลในเรื่องต่อไปนี้
1. ในการช่วยให้คนในประเทศเรียนรู้เทคโนโลยี
2. ส่งเสริมการฝึกอบรมต่างประเทศของผู้จัดการ และวิศวกรอย่างแข็งขัน
3. ส่งเสริมการใช้ที่ปรึกษาต่างประเทศที่เรียกว่า Consultant
4. รัฐบาลมีส่วนร่วมในการเจรจาซื้อเทคโนโลยี หรือผลิตแบบ Licensing
5. เทคโนโลยีไม่ใช่เป็นเรื่องของเทคนิคที่เกี่ยวโยงกับเครื่องจักร ทุน เท่านั้น แต่ยังมีบทบาท
สำคัญด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รัฐบาลส่งเสริมการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกร และ
สนับสนุนการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จนทำให้อัตราการเข้าเรียนระดับมัธยมของประชากรอยู่ใน
อัตราสูง
บทบาทของรัฐ ไม่ใช่เพียงเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา (Research & Development)
แต่ในการประสานงานเพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ให้มีประสิทธิภาพ และไม่ถูกครอบงำโดยต่างประเทศ
ตลาดแรงงาน
เกาหลีใต้พัฒนาอุตสาหกรรมโดยใช้ระบบโรงงานนรก (sweat shops) คนงานต้องทำงาน
เฉลี่ยวันละหลายชั่วโมง และมีการใช้แรงงานหญิงเป็นจำนวนมากในโรงงานอุตสาหกรรม ดังจะเห็น
ได้จากสถิติต่อไปนี้
1. พ.ศ. 2527 ผู้ใช้แรงงานชายและหญิงร้อยละ 73 และร้อยละ 62 ตามลำดับ ทำงานสัปดาห์
ละ 54 ชั่วโมงเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากลทั่วไปเท่ากับสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง
2. ระดับค่าจ้างจะเพิ่มขึ้นในช่วง ทศวรรษ 2500 2510 แต่เพิ่มจากฐานที่ต่ำมาก พ.ศ. 2512 ค่า
จ้างเฉลี่ยเท่ากับ 50-70 ดอลล่าร์สำหรับ และไม่ต่างจากระดับค่าใช้จ่ายต่ำสุดเพื่อดำรงชีวิตเท่าใดนัก
ค่าจ้างมีระดับต่ำมาก โดยเฉพาะกรณีของโรงงานอุตสาหกรรม
พ.ศ. 2520 ค่าจ้างเฉลี่ยของสาวโรงงานคิดเป็นร้อยละ 52 ของรายได้ของคนงานชาย ช่องว่าง
ระหว่างคนงานหญิงชายนี้สูงมากกว่าประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ สถิติเหล่านี้ชี้ว่าเกาหลีใต้มีระบบโรง
งานนรก ถึงค่าจ้างที่แท้จริงเพิ่มขึ้นจากการมีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็ง แต่รัฐบาลก็ควบคุมสหภาพ
แรงงานอย่างจริงจัง
การควบคุมสหภาพแรงงานของรัฐบาล
1. สมัยอาณานิคมใช้ระบบซัมโป (Sampo) มีวิธีการหลายวิธีคือ รัฐบาลส่งเสริมให้คนงาน
และนายจ้างเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมคนรักชาติเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
2. ทศวรรษ 2500 - 2510 มีการก่อตั้งสมาคมคนงาน โดยบริษัทให้เงินสนับสนุน และเพื่อกีด
กันมิให้สหภาพคนงานขยายตัวไป และก็ดูจะประสบความสำเร็จเพราะคนงานที่เป็นสมาชิกสหภาพมี
สัดส่วนต่ำ
3. รัฐบาลควบคุมสหภาพแรงงานแข็งขัน ทศวรรษ 2510 ตลาดแรงงานตึงตัว สหภาพเริ่มแข็ง
จึงมีการนำเอาระบบ Sampo มาใช้อีก และมีการใช้ตำรวจและหน่วยสืบราชการลับควบคุมคนงาน
4. ทศวรรษ 2510 สหภาพแรงงานไม่แข็งเพราะระบบเศรษฐกิจมีการว่างงานสูง (ร้อยละ 16
พ.ศ. 2507 และร้อยละ 13 พ.ศ. 2510) และมีแรงงานส่วนเกินทะลักออกมาจากชนบท นอกจากนี้รัฐ
บาลใช้มาตรการควบคุมเข้มงวดมาก
สภาพสาธารณูปโภค
รัฐบาลลงทุนด้านสาธารณูปโภคมาก โดยเฉพาะ แก็ส ไฟฟ้า น้ำประปา รถไฟ และชล
ประทาน การใช้จ่ายของรับบาลมีสัดส่วนถึงร้อยละ 20 ของ GNP และรัฐบาลลงทุนคิดเป็นสัดส่วนถึง
ร้อยละ 23 ของการลงทุนทั้งหมด
ภาคเกษตร
กลยุทธ์การพัฒนาอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้เน้นการใช้แรงงานราคาถูกในโรงงานที่ใช้แรง
งานเข้มข้น เพื่อได้ประโยชน์จาการมีแรงงานส่วนเกิน แล้วเน้นเพิ่มผลิตภาพสูงกว่าการเพิ่มของค่าจ้าง
ที่ทำเช่นนี้ได้เพราะ ราคาสินค้าอาหาร(สินค้าเกษตร) ต่ำกว่าราคาตลาดโลก ผลสองประการของ
การกดราคาอาหารต่ำคือ
1. ค่าจ้างไม่ต้องเพิ่มมาก เพื่อดึงคนออกจากเกษตร
2.ค่าครองชีพต่ำเป็นการอุดหนุนธุรกิจอุตสาหกรรม และป้องกันมิให้สหภาพแรงงานเรียก
ร้องค่าจ้างเพิ่มขึ้น
นโยบายการเก็บภาษีจากภาคเกษตร เพื่อช่วยการสะสมทุนในอุตสาหกรรมเป็นนโยบายที่รัฐ
บาลญี่ปุ่นเคยใช้มาก่อนแล้ว กรณีเกาหลีใต้ก็ใช้วิธีคล้ายกันคือ
1.ให้ราคาสินค้าเกษตรต่ำ โดยวิธีเปรียบเทียบกับราคาสินค้าอุตสาหกรรมเท่ากับว่ายอมให้
อัตราการค้า (terms of trade) ระหว่างสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมเป็นประโยชน์กับอุตสาห
กรรม ระหว่าง พ.ศ. 2506 ถึง 2512 อัตราส่วนระหว่างสินค้าเกษตรโดยเฉลี่ยเทียบกับราคาสินค้าอุต
สาหกรรมลดลงจาก 163 เป็น 139 เท่ากับเกษตรซื้อของอุตสาหกรรมแพงขึ้น
2. รัฐบาลแทรกแซงตลาดค้าข้าว และปัจจัยการผลิตเกษตร จึงมีการขนถ่ายส่วนเกินจากภาค
เกษตรที่รัฐควบคุมคือ รัฐบาลรับซื้อข้าวราคาถูก แต่ขายปัจจัยการผลิตในราคาแพง
3. นอกจากนี้รัฐบาลได้รับเงินช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ในรูปข้าวสาลีราคาถูกสัดส่วนของข้าว
สาลีราคาถูกที่ซื้อมาจากสหรัฐฯ เพิ่มจากร้อยละ 6 พ.ศ. 2507 เป็นร้อยละ 25 พ.ศ. 2514
ด้วยนโยบายต่างๆดังกล่าว รายได้ภาคเกษตรจึงเป็นเพียง 1/3 ของรายได้ของเศรษฐกิจภาค
การเมืองเมื่อพ.ศ. 2514
ทศวรรษ 2510 อัตราการค้าระหว่างประเทศ (Terms of trade) เปลี่ยนไปเป็นผลดีกับเกษตร
เมื่อสหรัฐฯลดการช่วยเหลือข้าว ทำให้ราคาอาหารสูงขึ้น
ทศวรรษ 2510 รัฐบาลขูดรีดเกษตรกรน้อยลง เพราะชาวชนบทเริ่มต่อต้านรัฐบาลเผด็จการ
ทหารด้วย โดยสนับสนุนการเมืองฝ่ายค้าน ทำให้รายได้ของภาคเกษตรดีขึ้น และมีผู้เสนอว่า การเอา
เปรียบชาวนาโดยรัฐบาลหลังปี 2488 มีน้อยกว่าสมัยตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น
สรุปช่วง พ.ศ. 2504-2522 รัฐบาลมีนโยบายเศรษฐกิจสำคัญๆ คือ
1.มีการแทรกแซงจากรัฐบาลสูง ภายใต้รัฐบาลเผด็จการ มีการชี้นำทางเศรษฐกิจ และมี
นโยบายควบคุมทางการเมือง
2.ในการเตรียมและใช้นโยบาย มีการประสานงานใกล้ชิดด้านรายละเอียดระหว่างรัฐบาล
(รมต) ผู้นำธุรกิจและเทคโนแครต หรือข้าราชการกระทรวงสำคัญ
3.ใช้นโยบายดอกเบี้ยต่างระดับ ส่งเสริมอุตสาหกรรมเฉพาะสาขาเฉพาะราย
4.รัฐบาลสนับสนุนการซื้อถ่ายโอนเทคโนโลยีมากกว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
และไม่สนับสนุนให้ต่างชาติเข้าเป็นเจ้าของกิจการในประเทศยกเว้นในบางกรณี

4 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ประเทศเกาหลี มีระบบเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนก็จริง

แต่ประชาชน ของเกาหลีนั้นมีเป็นจำนวนมาก

ทำให้ อาชีพแนว อุตสาหกรรม ผลิตงอกเงยเป็นอย่างมากในประเทศ

รวมถึงมีการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าด้านการท่องเที่ยว สังคม

เศรษฐกิจ ทำให้เกาหลีเป็นประเทศที่ เจริญ มากในทุกวันนี้

ที่

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ค่าครองชีพต่ำเป็นการอุดหนุนธุรกิจอุตสาหกรรม และป้องกันมิให้สหภาพแรงงานเรียก
ร้องค่าจ้างเพิ่มขึ้น



น่านำมาใช้ในบ้านเมืองเรา
เค้าไม่มองข้ามอาชีพเกษตรกรเลย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

การที่ประเทศเกาหลีเหนือมีเศรษฐกิจที่ดี มีปัจจัยหลายอย่างซึ่งที่สำคัญก้น่าจะมาจากผู้นำที่ดี มีความสามรถ เเละก็ความดูเเลเอาใจใส่ในการปกครองประชาชนในทุกๆอาชีพ ซึ่งเห็นถึงความสำคัญ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ประเทศไหนๆๆก็ย่ำแย่ พอๆๆกัน