วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ประวัติเกาหลีเหนือ

ประวัติประเทศเกาหลีเหนือ

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (Democratic People's Republic of Korea: DPRK) หรือ เกาหลีเหนือ (North Korea) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก มีพื้นที่ครอบคลุมส่วนเหนือของคาบสมุทรเกาหลี มีพรมแดนทางใต้ติดกับประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเคยเป็นชาติเดียวกันจนถึงปี พ.ศ. 2489 พรมแดนทางเหนือส่วนใหญ่ติดกับประเทศจีน และมีส่วนเล็กน้อยติดกับประเทศรัสเซีย

ภายในประเทศมักเรียกว่า Pukchoson: ปุกโชซอน (โชซอนเหนือ; 북조선; 北朝鮮) และมักใช้คำว่า Bukhan: บุกฮัน (ฮันเหนือ; 북한; 北韓) ในเกาหลีใต้

ยุคประวัติศาสตร์
ในประวัติศาสตร์เกาหลี แบ่งเป็นราชอาณาจักรทั้งสาม คือราชอาณาจักรโกกุเรียว (เป็นอาณาจักรเกาหลีโบราณ ปัจจุบัน ดินแดนส่วนใหญ่อยู่ในเกาหลีเหนือและคาบสมุทร์เหลียวตงของจีน) ราชอาณาจักรปีกเจ และราชอาณาจักรซิลลา ซึ่งปกครองคาบสมุทรเกาหลีและบางส่วนของแมนจูเรีย ตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในช่วงหนึ่งศตวรรษก่อนคริสต์ศักราช คาบสมุทรเกาหลีทั้งหมด และดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศแมนจูเรียอยู่ภายใต้การปกครองของสามอาณาจักร

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 กองกำลังของ สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตและสหรัฐอเมริกาได้เข้าไปปลดอาวุธญี่ปุ่นในเกาหลี แต่สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตและสหรัฐอเมริกา ไม่สามารถตกลงเรื่องการรวมเกาหลีกันได้ แต่ละฝ่ายจึงประกาศประเทศของตน โดยเกาหลีใต้ เรียกชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐเกาหลี" ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ส่วนเกาหลีเหนือ เรียกชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี" ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต

ยุคเอกราช
หลังจากเกาหลีเหนือได้แยกออกมาเป็นเอกราชแล้ว นาย คิม อิล ซุง ก็ได้มีบทบาทสำคัญของการบริหารประเทศตลอดมา ในระหว่าง พ.ศ.2491-2515 เขาได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และต่อจากนั้นก็ได้ตำแหน่งประธานาธิบดี จนถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2537 แล้วบุตรชาย คิม จอง อิล ได้ดำรงตำแหน่งสืบมาคิม จองอิล

คิม จองอิล
คิม จองอิล (ฮันกึล: 김정일, ฮันจา: 金正日, Kim Jong-il) เกิดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942)[1] ที่ฐานที่มั่นลึกลับ บนยอดเขาเบคดู รอยต่อระหว่างชายแดนประเทศจีน และเกาหลีเหนือ คิม จอง อิล ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเกาหลีเหนือ ซึ่งเป็นผู้นำประเทศเกาหลีเหนือที่มีอำนาจสูงสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีเหนือ และยังเป็น ผู้นำพรรคแรงงาน ผู้นำประธานคณะกรรมการการป้องกันแห่งชาติ






การเมือง
เกาหลีเหนือเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ เกาหลีเหนือปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ตามแนวทางของอดีตสหภาพโซเวียต ระบบการเมืองของเกาหลีเหนือตั้งอยู่บนพื้นฐานของลัทธิจูเช่ (Juche) ซึ่งอดีตประธานาธิบดี คิม อิล ซุง ได้บัญญัติขึ้นเมื่อ 26 ธ.ค. 2498 ประกอบด้วยหลักการสำคัญ คือเอกราชทางการเมืองอย่างแท้จริง การพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจ และการป้องกันประเทศด้วยตนเอง
เกาหลีเหนือมีการปกครองระบบพรรคเดียวมาโดยตลอด นับตั้งแต่มีการก่อตั้งประเทศเมื่อ 9 ก.ย. 2491 โดยมีพรรคคนงานเกาหลี (Workers Party of Korea) เป็นองค์กรที่มีบทบาทและอิทธิพล สูงสุดในทางการเมืองที่คอยควบคุมหน่วยงานของรัฐบาลในการบริหารประเทศ ตามที่รัฐธรรมนูญปกครองประเทศของเกาหลีเหนือบัญญัติไว้ว่า อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของสมัชชาประชาชนสูงสุด ซึ่งมีสมาชิก 687 คน มาจากการเลือกตั้งและมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี
สถานการณ์การเมืองภายในของเกาหลีเหนือได้เข้าสู่ความไม่แน่นอน ภายหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของประธานาธิบดีคิม อิล ซุง ในปี 2537 ซึ่งทำให้ประชาคมระหว่างประเทศกังวลว่าเกาหลีเหนือจะประสบปัญหาวุ่นวาย อย่างไรก็ตาม การเข้ารับตำแหน่งผู้นำประเทศของนายคิม จอง อิล ในเดือนกรกฎาคม 2541 แสดงให้เห็นว่านายคิม จอง อิล สามารถกุมอำนาจการปกครองประเทศได้อย่างเบ็ดเสร็จ โดยนายคิม จอง อิล ก็ได้มีท่าทีที่ต้องการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศในโลกเสรีมากขึ้น คาดว่าเพราะต้องการได้รับเงินตราต่างประเทศ เพื่อนำมาปรับปรุงและฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจของประเทศ
เมื่อ 5 ก.ย. 2541 การประชุมสภาประชาชนสูงสุดครั้งที่ 10 มีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยระบุว่า 1) นายคิม อิล ซุง เป็นผู้ก่อตั้งเกาหลีเหนือ และเป็นบรรพบุรุษแห่งสังคมนิยมของเกาหลี ดังนั้น จึงยกย่องให้เป็นประธานาธิบดีตลอดกาล (Eternal President) 2) ยกเลิกระบบประธานาธิบดีเป็นประมุข ให้ประธานคณะกรรมการป้องกันประเทศ (Chairman of the National Defense Commission) เป็นตำแหน่งสูงสุดของประเทศ โดยมีอำนาจปกครองด้านการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ 3) ให้สภาบริหารสูงสุด (Presidium) ของสภาประชาชนสูงสุดเกาหลีเหนือ (Supreme People's Assembly) เป็นองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดของประเทศอนึ่ง สภาฯ มีมติแต่งตั้งนายคิม ยอง นาม ให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาบริหารสูงสุดของสภาประชาชนสูงสุดเกาหลีเหนือ รับผิดชอบงานด้านการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับต่างประเทศ ได้แก่ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพิธีการทูต การให้และยกเลิกสัตยาบัน การแต่งตั้งและเรียกกลับผู้แทนทางการทูตในต่างประเทศ การรับสาส์นตราตั้งทูตต่างประเทศ การเป็นผู้แทนประเทศพบบุคคลสำคัญจากต่างประเทศที่ไปเยือนเกาหลีเหนือ รวมทั้งเป็นผู้แทนประเทศเดินทางไปเยือนประเทศอื่นๆเมื่อ 3 ก.ย.2546 ได้มีการประชุมสภาประชาชนสูงสุดของเกาหลีเหนือ โดยที่ประชุมฯ มีมติดังนี้
1. นาย Kim Jong Il ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการกลาโหม (Chairman of the National Defense Commission) ต่อไป
2. นาย Kim Yong Nam ดำรงตำแหน่งประธานสภาบริหารสูงสุดของสภาประชาชนสูงสุด (President of the Presidium of the DPRK Supreme People's Assembly) ต่อไป
3. นาย Park Pong Ju รมว.อุตสาหกรรมเคมี ดำรงตำแหน่ง นรม. สืบแทนนาย Hong Song Nam
4. นาย Paek Nam Sun ดำรงตำแหน่ง รมว.กต.ต่อไปทั้งนี้ นรม.คนใหม่มีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศให้มากยิ่งขึ้น สนับสนุนด้านการทหารอย่างเต็มที่ และส่งเสริมการรวมประเทศเกาหลีทั้งสอง

การปกครอง
เกาหลีเหนือปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์โดยมี นายคิมจองอิล เป็นผู้นำประเทศเกาหลีเหนือเป็นประเทศคอมมิวนิสต์
เกาหลีเหนือปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ตามแนวทางของอดีตสหภาพโซเวียต ระบบการเมืองของเกาหลีเหนือตั้งอยู่บนพื้นฐานของลัทธิจูเช่ (Juche) ซึ่งอดีตประธานาธิบดี คิม อิล ซุง ได้บัญญัติขึ้นเมื่อ 26 ธ.ค. 2498 ประกอบด้วยหลักการสำคัญ คือเอกราชทางการเมืองอย่างแท้จริง การพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจ และการป้องกันประเทศด้วยตนเอง เกาหลีเหนือมีการปกครองระบบพรรคเดียวมาโดยตลอด นับตั้งแต่มีการก่อตั้งประเทศเมื่อ 9 ก.ย. 2491 โดยมีพรรคคนงานเกาหลี (Workers Party of Korea) เป็นองค์กรที่มีบทบาทและอิทธิพล สูงสุดในทางการเมืองที่คอยควบคุมหน่วยงานของรัฐบาลในการบริหารประเทศ ตามที่รัฐธรรมนูญปกครองประเทศของเกาหลีเหนือบัญญัติไว้ว่า อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของสมัชชาประชาชนสูงสุด ซึ่งมีสมาชิก 687 คน มาจากการเลือกตั้งและมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี สถานการณ์การเมืองภายในของเกาหลีเหนือได้เข้าสู่ความไม่แน่นอน ภายหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของประธานาธิบดีคิม อิล ซุง ในปี 2537 ซึ่งทำให้ประชาคมระหว่างประเทศกังวลว่าเกาหลีเหนือจะประสบปัญหาวุ่นวาย อย่างไรก็ตาม การเข้ารับตำแหน่งผู้นำประเทศของนายคิม จอง อิล ในเดือนกรกฎาคม 2541 แสดงให้เห็นว่านายคิม จอง อิล สามารถกุมอำนาจการปกครองประเทศได้อย่างเบ็ดเสร็จ โดยนายคิม จอง อิล ก็ได้มีท่าทีที่ต้องการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศในโลกเสรีมากขึ้น คาดว่าเพราะต้องการได้รับเงินตราต่างประเทศ เพื่อนำมาปรับปรุงและฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อ 5 ก.ย. 2541 การประชุมสภาประชาชนสูงสุดครั้งที่ 10 มีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยระบุว่า 1) นายคิม อิล ซุง เป็นผู้ก่อตั้งเกาหลีเหนือ และเป็นบรรพบุรุษแห่งสังคมนิยมของเกาหลี ดังนั้น จึงยกย่องให้เป็นประธานาธิบดีตลอดกาล (Eternal President) 2) ยกเลิกระบบประธานาธิบดีเป็นประมุข ให้ประธานคณะกรรมการป้องกันประเทศ (Chairman of the National Defense Commission) เป็นตำแหน่งสูงสุดของประเทศ โดยมีอำนาจปกครองด้านการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ 3) ให้สภาบริหารสูงสุด (Presidium) ของสภาประชาชนสูงสุดเกาหลีเหนือ (Supreme People's Assembly) เป็นองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดของประเทศ อนึ่ง สภาฯ มีมติแต่งตั้งนายคิม ยอง นาม ให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาบริหารสูงสุดของสภาประชาชนสูงสุดเกาหลีเหนือ รับผิดชอบงานด้านการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับต่างประเทศ ได้แก่ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพิธีการทูต การให้และยกเลิกสัตยาบัน การแต่งตั้งและเรียกกลับผู้แทนทางการทูตในต่างประเทศ การรับสาส์นตราตั้งทูตต่างประเทศ การเป็นผู้แทนประเทศพบบุคคลสำคัญจากต่างประเทศที่ไปเยือนเกาหลีเหนือ รวมทั้งเป็นผู้แทนประเทศเดินทางไปเยือนประเทศอื่นๆ

การแบ่งเขตการปกครอง
ในปี พ.ศ. 2547 ประเทศเกาหลีเหนือแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 จังหวัด (provinces) 3 เขตพิเศษ (special regions) และ 2 เมืองที่ได้รับการปกครองโดยตรง (directly-governed cities) ได้แก่




จังหวัด

  • คังวอน (Kangwŏndo: คังวอนโด 강원도; 江原道)
  • ชากัง (Chagang-do: ชากัง-โด; 자강도; 慈江道)
  • เปียงอันใต้ (P'yŏngan-namdo: เปียงอัน-นัมโด; 평안 남도; 平安南道)
  • เปียงอันเหนือ (P'yŏngan-bukto: เปียงอัน-บุคโต; 평안 북도; 平安北道)
  • เรียงกัง (Ryanggang-do: เรียงกัง-โด; 량강도; 兩江道)
  • ฮวางแฮใต้ (Hwanghae-namdo: ฮวางแฮ-นัมโด; 황해 남도; 黃海南道)
  • ฮวางแฮเหนือ (Hwanghae-bukto: ฮวางแฮ-บุคโต; 황해 북도; 黃海北道)
  • ฮัมเกียงใต้ (Hamgyŏng-namdo: ฮัมเกียง-นัมโด; 함경 남도; 咸鏡南道)
  • ฮัมเกียงเหนือ (Hamgyŏng-bukto: ฮัมเกียง-บุคโต; 함경 북도; 咸鏡北道)

เมืองที่ได้รับการปกครองโดยตรง

  • เปียงยาง (P'yŏngyang Chik'alshi: เปียงยาง ชิคัลชิ; 평양 직할시; 平壤直轄市) - สังเกตว่าเมืองนี้ได้จัดเป็นเมืองที่ได้รับการปกครองโดยตรง และไม่ใช่ "นครพิเศษ" เหมือนกรุงโซลในประเทศเกาหลีใต้
  • ราซอน (ราจิน-ซอนบอง) (Rasŏn (Rajin-Sŏnbong) Chik'alshi: ราซอน (ราจิน-ซอนบอง) ชิคัลชิ; 라선 (라진-선봉) 직할시; 羅先 (羅津-先鋒) 直轄市)
ภูมิศาสตร์
คาบสมุทรเกาหลีทอดตัวไปทางทิศใต้ทางด้านตะวันออกของทวีปเอเชีย มีความยาว 1,020 กิโลเมตร (612 ไมล์) และกว้าง 175 กิโลเมตร (105 ไมล์) ณ จุดที่แคบที่สุดของคาบสมุทร พื้นที่ 70% ของประเทศเป็นเทือกเขา จึงจัดเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของแผ่นดินที่เป็นหินแกรนิตและหินปูนทำให้เกิดภูมิประเทศที่สวยงามอย่างมหัศจรรย์ ประกอบด้วยเทือกเขาและหุบเขา เทือกเขา ตลอดชายฝั่งด้านตะวันออกสูงชันและทอดตัวลงสู่ทะเลตะวันออก ในขณะที่ชายฝั่งทางด้านใต้ และตะวันตก เทือกเขาค่อย ๆ ลาดลงต่ำสู่ที่ราบชายฝั่ง ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเกาหลีโดยเฉพาะในด้านการผลิตข้าว
คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ที่บริเวณเหนือเส้นขนานที่ 38 คือ ประเทศระบอบประชาธิปไตย สาธารณรัฐเกาหลีอยู่ทางใต้ และประเทศระบอบคอมมิวนิสต์ เกาหลีเหนือ โดยถูกคั่นกลางโดยเขตปลอดทหาร

การเกษตร
เกาหลีเหนือจัดพื้นที่การเกษตรเป็นคอมมูนเช่นเดียวกับจีน และมอบพื้นที่ขนาดเล็กใกล้คอมมูนให้เป็นแปลงเกษตรส่วนตัว ผลผลิตทางการเกษตรของเกาหลีเหนือ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี โค และสัตว์ปีก แต่เกือบทุกชนิดไม่พอเลี้ยงประชากรในประเทศ ส่วนใหญ่จึงต้องสั่งเข้าจากอดีตสหภาพโซเวียต

การทำเหมืองแร่
เกาหลีเหนืออุดมสมบูรณ์ไปด้วยถ่านหิน ซึ่งเป็นผลผลิตที่ส่งเป็นสินค้าส่งออกทำรายได้ให้ประเทศอันดับหนึ่งนอกจากนี้ยังมี ตะกั่ว สังกะสี และเหล็ก

อุตสาหกรรม
เกาหลีเหนือมีอุตสาหกรรมหนักอยู่หลายชนิด เช่น เครื่องจักรกล เหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ และปุ๋ย เศรษฐกิจการค้า

เกาหลีเหนือมีการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในลักษณะวางแผนเศรษฐกิจจากส่วนกลาง โดยเกาหลีเหนือได้ยึดถืออุดมการณ์ลัทธิจูเช่ (Juche) ของพรรคแรงงานเกาหลีมาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ โดยเน้นความเป็นเอกภาพ การพึ่งพาตนเอง เกียรติภูมิของชาติ และการสร้างความเจริญให้กับประเทศ พร้อมกับประกาศ “ขบวนการม้าบิน” (Chollima Movement) ในปี 2501 ที่กระตุ้นให้ประชาชนขยันขันแข็งในการทำงาน เร่งเพิ่มผลผลิตโดยเฉพาะทางด้านการเกษตร
เกาหลีเหนือมีระบบการค้าผูกขาดโดยภาครัฐ ทั้งการค้าในประเทศและต่างประเทศ โดยกระทรวงพาณิชย์ควบคุมการค้าภายในประเทศ และกระทรวงการค้าต่างประเทศควบคุมการค้าระหว่างประเทศ โดยได้จัดตั้งบริษัทการค้าของรัฐหรือสหกรณ์การค้าของรัฐ เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการค้า รัฐบาลเกาหลีเหนือพยายามขยายการค้ากับต่างประเทศให้มากขึ้น โดยได้เน้นการผลิตสินค้าที่ตลาดต่างประเทศมีความต้องการเพิ่มขึ้น พยายามปรับปรุงเครดิตของเกาหลีเหนือ ส่งเสริมสินค้าออกทั้งแบบ merchant trade และ barter trade ส่งเสริมการร่วมลงทุนกับต่างประเทศ นอกจากนี้ เกาหลีเหนือได้จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (Commission for the Promotion of Foreign Trade) เพื่อสนับสนุนการค้ากับประเทศที่ยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลีเหนือ
เกาหลีเหนือสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เพียงร้อยละ 20 ของปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในประเทศเท่านั้น ภาวะการขาดแคลนพลังงานของเกาหลีเหนือ ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถทำการผลิตได้เพียงร้อยละ 20 ของความสามารถในการผลิต ทั้งนี้ มีรายงานว่าระบบการสื่อสารและคมนาคมขนส่งของเกาหลีเหนืออยู่ในสภาพย่ำแย่ ซึ่งหากสภาวะเช่นนี้ดำรงต่อไป อาจส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจเกาหลีเหนือล่มสลายได้ และนำไปสู่การอพยพของชาวเกาหลีเหนือไปสู่จีนและเกาหลีใต้
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเกาหลีเหนือมีทหารประจำการกว่า 1 ล้านคน ทำให้องค์กรระหว่างประเทศต่างๆ แสดงข้อห่วงกังวลว่าความช่วยเหลือด้านอาหารที่นานาประเทศส่งไปช่วยเหลือชาวเกาหลีเหนือ ส่วนใหญ่อาจถูกนำไปใช้เลี้ยงดูกองทัพและไม่ถึงมือประชาชนที่อดอยากและขาดแคลนอาหาร
ในปี 2538 และ 2539 ได้ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 10 ปี ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่เกษตรกรรมและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ต่อมาในปี 2540 เกาหลีเหนือประสบกับภาวะภัยแล้งและพายุในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวทางฝั่งตะวันตกของประเทศ ทำให้ไม่สามารถผลิตอาหารให้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ก่อให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ประชาชนเจ็บป่วยและล้มตายเป็นจำนวนมาก รัฐบาลเกาหลีเหนือจึงได้เริ่มขอรับความช่วยเหลือจากประชาคมโลกมาตั้งแต่ปี 2538 ทั้งนี้ ก่อนการล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในปี 2532-2533 ประเทศที่เคยเป็นคู่ค้าที่สำคัญของเกาหลีเหนือคือ สหภาพโซเวียตและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก แต่หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต มูลค่าการค้ากับรัสเซียได้ลดน้อยลงอย่างมาก และประเทศยุโรปตะวันออกก็ไม่มีกำลังซื้อ นอกจากนี้ สินค้าส่งออกของเกาหลีเหนือ ก็ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าประเภทเดียวกันจากประเทศอื่นๆ ทั้งทางด้านคุณภาพและราคาได้ รวมทั้ง เกาหลีเหนือยังประสบปัญหาการขาดเแคลนเงินตราต่างประเทศ เพื่อนำไปซื้อวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าอีกด้วย
รัฐบาลเกาหลีเหนือได้พยายามหาเงินตราจากต่างประเทศ โดยไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ ดังนี้ 1) ในปี 2534 ได้พยายามทดลองเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษในลักษณะเดียวกับจีน บริเวณใกล้พรมแดนจีนและรัสเซียเรียกว่า Rajin-Sonbong Free Trade Zone (FTZ) เพื่อเป็นเขตผ่อนผันให้กับนักลงทุนต่างชาติผ่านเข้าออกได้ โดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตรา มีการลดภาษีศุลกากร และมีสิ่งจูงใจอื่นๆ เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในเขตดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าวได้รับความสนใจน้อยมาก (มีนักลงทุนจากไทยและจีนเข้าไปลงทุนในขณะนี้) เนื่องจากค่าจ้างแรงงานที่สูง การแทรกแซงจากเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินงาน นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติ ยังไม่ค่อยแน่ใจในสถานการณ์ทางการเมืองภายในเกาหลีเหนือ ตลอดจนปัญหาเรื่องนโยบายคุ้มครองการลงทุน รวมทั้งความไม่พร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อาทิ สนามบิน ท่าเรือ และการขาดพื้นฐานทางอุตสาหกรรม และ 2) ในปี 2541 ได้เปิดให้บริษัทฮุนไดของเกาหลีใต้เข้าไปลงทุนโดยการนำนักท่องเที่ยวเข้าชมบริเวณเทือกเขา Kumgang โดยบริษัทฮุนไดต้องจ่ายค่าสัมปทานให้กับรัฐบาลเกาหลีเหนือเดือนละ 12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ [แต่ปรากฏว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากเกาหลีใต้น้อยเกินคาด คือน้อยกว่า 4,000 คนต่อเดือนทำให้บริษัทฮุนไดขาดทุนอย่างนัก จนเมื่อเดือน มกราคม 2545 รัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่โครงการดังกล่าว เพราะเห้นว่าเป็นโครงการที่ส่งเสริมนโยบายปรองดองระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้] 3) เมื่อ ก.ย. 2545 เกาหลีเหนือได้ประกาศให้เมืองชินอึยจู ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ติดชายแดนจีนตรงข้ามเมืองตานตงของมณฑลเหลียวหนิงมีแม่น้ำยาลูเป็นเส้นกั้นพรมแดนให้เป็นเขตบริหารพิเศษขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางโดยสามารถบัญญัติกฎหมายมีอำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ 4) นับตั้งแต่การประชุมสุดยอดผู้นำเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ ระหว่างนายคิม จอง-อิล ผู้นำเกาหลีเหนือกับนายคิม แด-จุง อดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ในปี 2543 เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ได้มีความพยายามร่วมกันในการส่งเสริมโครงการนิคมอุตสาหกรรมแกซอง (Gaeseong Industrial Complex- GIC) ซึ่งปัจจุบัน โครงการดังกล่าวอยู่ในระยะที่ 1 (เสร็จสิ้นในปี 2550) มีอุตสาหกรรมได้รับประโยชน์จากค่าจ้างแรงงานที่ถูก การพึ่งพาและทำงานร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรม เช่น บริษัทผลิตเครื่องใช้ในครัว บริษัทผลิตเสื้อผ้า เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การทดลองขีปนาวุธและอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การลงทุนและการค้าต่างประเทศชะงักงัน โดยเฉพาะผลกระทบจากข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 1718 (2006) หากปัญหาต่างๆ ดังกล่าวได้รับการแก้ไข รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนมาตรฐานทางการเงินให้เป็นสากลมากขึ้น ก็อาจทำให้การลงทุนในเขตเศรษฐกิจดังกล่าวได้รับความสนใจจากต่างประเทศมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน
เมื่อ 2 สิงหาคม 2545 เกาหลีเหนือได้เริ่มทดลองมาตรการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ โดยลดการปันส่วนอาหาร และให้ประชาชนซื้ออาหารจากตลาดมากขึ้นแทน และเพิ่มค่าแรงเพื่อให้ประชาชนมีกำลังซื้ออาหารจากตลาดเอง รัฐบาลเกาหลีเหนือจะใช้ family production system ในพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งคล้ายกับระบบที่จีนใช้เมื่อเริ่มการปฏิรูปเศรษฐกิจใหม่ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิต รัฐบาลเกาหลีเหนือจะลดการซื้อธัญญพืชสำหรับการปันส่วนของรัฐ และจะปล่อยให้เกษตรกรสามารถขายพืชผลได้เองมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลเกาหลีเหนือจะลดค่าเงินของเกาหลีเหนือจาก 2.2 วอนต่อ 1 เหรียญสหรัฐ เป็น 200 วอนต่อ 1 เหรียญสหรัฐ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับตัวเข้าสู่ระบบตลาดต่อไปในอนาคต
การปฏิรูประบบเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือมีความคืบหน้าที่ดีขึ้น ถือว่าประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยเกาหลีเหนือสามารถรับมือกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูปได้ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงการจัดสรรอุปทานพลังงานเพื่อรองรับความต้องการได้ดีขึ้น มีความพยายามเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้นทั้งในภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และการค้าระหว่างประเทศ ในปี 2546 ภาคเกษตรมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 4.156 ล้านตันจากความต้องการบริโภค 5.1 ล้านตัน ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 และภาคการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 2,390 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นมูลค่าสูงสุดในรอบ 11 ปี
ปัจจุบัน รัฐบาลเกาหลีเหนือได้ให้อิสระมากขึ้นแก่ประชาชน รัฐวิสาหกิจ และบริษัทต่างๆ ในการเลือกประกอบอาชีพ การบริหารจัดการ การจัดทำข้อตกลงการค้าได้ นอกจากนี้ รัฐบาลยังจัดตั้งตลาดซื้อขายสินค้าเพิ่มอีกกว่า 300 แห่ง เพื่อรองรับการขยายตัวของการเข้าไปมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบเศรษฐกิจการตลาด ในขณะที่สตรีเกาหลีเหนือก็เข้าไปมีบทบาทในการหารายได้เลี้ยงครอบครัวเพิ่มขึ้นด้วย
ล่าสุด จากการประชุมสภาประชาชนสูงสุด (SPA) เมื่อ 11 เมษายน 49 ที่ผ่านมา นโยบายทางเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือจะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ และการพัฒนาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี อันเป็นยุทธศาสตร์ของเกาหลีเหนือในการเพิ่มความสามารถในการผลิตและเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาตนเองได้ ตามหลักจูเช่ และเชื่อว่าเกาหลีเหนือจะเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง และอุตสาหกรรม Software (นายคิมจองอิลเคยประกาศให้ศตวรรษที่ 21 เป็นยุคของการประวัติทางเทคโนโลยีสารสนเทศ) ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา เกาหลีเหนือประกาศว่าการสร้าง ”ประเทศที่เข้มแข็งและมั่งคั่ง” (Kangsong Taeguk-) จะต้องตั้งอยู่บนเสาหลักสำคัญ 3 ประการคือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อุดมการณ์ และการทหาร

เศรษฐกิจการค้า
เกาหลีเหนือมีการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในลักษณะวางแผนเศรษฐกิจจากส่วนกลาง โดยเกาหลีเหนือได้ยึดถืออุดมการณ์ลัทธิจูเช่ (Juche) ของพรรคแรงงานเกาหลีมาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ โดยเน้นความเป็นเอกภาพ การพึ่งพาตนเอง เกียรติภูมิของชาติ และการสร้างความเจริญให้กับประเทศ พร้อมกับประกาศ “ขบวนการม้าบิน” (Chollima Movement) ในปี 2501 ที่กระตุ้นให้ประชาชนขยันขันแข็งในการทำงาน เร่งเพิ่มผลผลิตโดยเฉพาะทางด้านการเกษตร
เกาหลีเหนือมีระบบการค้าผูกขาดโดยภาครัฐ ทั้งการค้าในประเทศและต่างประเทศ โดยกระทรวงพาณิชย์ควบคุมการค้าภายในประเทศ และกระทรวงการค้าต่างประเทศควบคุมการค้าระหว่างประเทศ โดยได้จัดตั้งบริษัทการค้าของรัฐหรือสหกรณ์การค้าของรัฐ เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการค้า รัฐบาลเกาหลีเหนือพยายามขยายการค้ากับต่างประเทศให้มากขึ้น โดยได้เน้นการผลิตสินค้าที่ตลาดต่างประเทศมีความต้องการเพิ่มขึ้น พยายามปรับปรุงเครดิตของเกาหลีเหนือ ส่งเสริมสินค้าออกทั้งแบบ merchant trade และ barter trade ส่งเสริมการร่วมลงทุนกับต่างประเทศ นอกจากนี้ เกาหลีเหนือได้จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (Commission for the Promotion of Foreign Trade) เพื่อสนับสนุนการค้ากับประเทศที่ยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลีเหนือ
เกาหลีเหนือสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เพียงร้อยละ 20 ของปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในประเทศเท่านั้น ภาวะการขาดแคลนพลังงานของเกาหลีเหนือ ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถทำการผลิตได้เพียงร้อยละ 20 ของความสามารถในการผลิต ทั้งนี้ มีรายงานว่าระบบการสื่อสารและคมนาคมขนส่งของเกาหลีเหนืออยู่ในสภาพย่ำแย่ ซึ่งหากสภาวะเช่นนี้ดำรงต่อไป อาจส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจเกาหลีเหนือล่มสลายได้ และนำไปสู่การอพยพของชาวเกาหลีเหนือไปสู่จีนและเกาหลีใต้
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเกาหลีเหนือมีทหารประจำการกว่า 1 ล้านคน ทำให้องค์กรระหว่างประเทศต่างๆ แสดงข้อห่วงกังวลว่าความช่วยเหลือด้านอาหารที่นานาประเทศส่งไปช่วยเหลือชาวเกาหลีเหนือ ส่วนใหญ่อาจถูกนำไปใช้เลี้ยงดูกองทัพและไม่ถึงมือประชาชนที่อดอยากและขาดแคลนอาหาร
ในปี 2538 และ 2539 ได้ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 10 ปี ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่เกษตรกรรมและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ต่อมาในปี 2540 เกาหลีเหนือประสบกับภาวะภัยแล้งและพายุในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวทางฝั่งตะวันตกของประเทศ ทำให้ไม่สามารถผลิตอาหารให้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ก่อให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ประชาชนเจ็บป่วยและล้มตายเป็นจำนวนมาก รัฐบาลเกาหลีเหนือจึงได้เริ่มขอรับความช่วยเหลือจากประชาคมโลกมาตั้งแต่ปี 2538 ทั้งนี้ ก่อนการล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในปี 2532-2533 ประเทศที่เคยเป็นคู่ค้าที่สำคัญของเกาหลีเหนือคือ สหภาพโซเวียตและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก แต่หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต มูลค่าการค้ากับรัสเซียได้ลดน้อยลงอย่างมาก และประเทศยุโรปตะวันออกก็ไม่มีกำลังซื้อ นอกจากนี้ สินค้าส่งออกของเกาหลีเหนือ ก็ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าประเภทเดียวกันจากประเทศอื่นๆ ทั้งทางด้านคุณภาพและราคาได้ รวมทั้ง เกาหลีเหนือยังประสบปัญหาการขาดเแคลนเงินตราต่างประเทศ เพื่อนำไปซื้อวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าอีกด้วย
รัฐบาลเกาหลีเหนือได้พยายามหาเงินตราจากต่างประเทศ โดยไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ ดังนี้ 1) ในปี 2534 ได้พยายามทดลองเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษในลักษณะเดียวกับจีน บริเวณใกล้พรมแดนจีนและรัสเซียเรียกว่า Rajin-Sonbong Free Trade Zone (FTZ) เพื่อเป็นเขตผ่อนผันให้กับนักลงทุนต่างชาติผ่านเข้าออกได้ โดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตรา มีการลดภาษีศุลกากร และมีสิ่งจูงใจอื่นๆ เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในเขตดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าวได้รับความสนใจน้อยมาก (มีนักลงทุนจากไทยและจีนเข้าไปลงทุนในขณะนี้) เนื่องจากค่าจ้างแรงงานที่สูง การแทรกแซงจากเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินงาน นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติ ยังไม่ค่อยแน่ใจในสถานการณ์ทางการเมืองภายในเกาหลีเหนือ ตลอดจนปัญหาเรื่องนโยบายคุ้มครองการลงทุน รวมทั้งความไม่พร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อาทิ สนามบิน ท่าเรือ และการขาดพื้นฐานทางอุตสาหกรรม และ 2) ในปี 2541 ได้เปิดให้บริษัทฮุนไดของเกาหลีใต้เข้าไปลงทุนโดยการนำนักท่องเที่ยวเข้าชมบริเวณเทือกเขา Kumgang โดยบริษัทฮุนไดต้องจ่ายค่าสัมปทานให้กับรัฐบาลเกาหลีเหนือเดือนละ 12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ [แต่ปรากฏว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากเกาหลีใต้น้อยเกินคาด คือน้อยกว่า 4,000 คนต่อเดือนทำให้บริษัทฮุนไดขาดทุนอย่างนัก จนเมื่อเดือน ม.ค. 2545 รัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่โครงการดังกล่าว เพราะเห้นว่าเป็นโครงการที่ส่งเสริมนโยบายปรองดองระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้] 3) เมื่อ ก.ย. 2545 เกาหลีเหนือได้ประกาศให้เมืองชินอึยจู ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ติดชายแดนจีนตรงข้ามเมืองตานตงของมณฑลเหลียวหนิงมีแม่น้ำยาลูเป็นเส้นกั้นพรมแดนให้เป็นเขตบริหารพิเศษขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางโดยสามารถบัญญัติกฎหมายมีอำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ 4) นับตั้งแต่การประชุมสุดยอดผู้นำเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ ระหว่างนายคิม จอง-อิล ผู้นำเกาหลีเหนือกับนายคิม แด-จุง อดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ในปี 2543 เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ได้มีความพยายามร่วมกันในการส่งเสริมโครงการนิคมอุตสาหกรรมแกซอง (Gaeseong Industrial Complex- GIC) ซึ่งปัจจุบัน โครงการดังกล่าวอยู่ในระยะที่ 1 (เสร็จสิ้นในปี 2550) มีอุตสาหกรรมได้รับประโยชน์จากค่าจ้างแรงงานที่ถูก การพึ่งพาและทำงานร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรม เช่น บริษัทผลิตเครื่องใช้ในครัว บริษัทผลิตเสื้อผ้า เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การทดลองขีปนาวุธและอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การลงทุนและการค้าต่างประเทศชะงักงัน โดยเฉพาะผลกระทบจากข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 1718 (2006) หากปัญหาต่างๆ ดังกล่าวได้รับการแก้ไข รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนมาตรฐานทางการเงินให้เป็นสากลมากขึ้น ก็อาจทำให้การลงทุนในเขตเศรษฐกิจดังกล่าวได้รับความสนใจจากต่างประเทศมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน
เมื่อ 2 ส.ค. 2545 เกาหลีเหนือได้เริ่มทดลองมาตรการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ โดยลดการปันส่วนอาหาร และให้ประชาชนซื้ออาหารจากตลาดมากขึ้นแทน และเพิ่มค่าแรงเพื่อให้ประชาชนมีกำลังซื้ออาหารจากตลาดเอง รัฐบาลเกาหลีเหนือจะใช้ family production system ในพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งคล้ายกับระบบที่จีนใช้เมื่อเริ่มการปฏิรูปเศรษฐกิจใหม่ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิต รัฐบาลเกาหลีเหนือจะลดการซื้อธัญญพืชสำหรับการปันส่วนของรัฐ และจะปล่อยให้เกษตรกรสามารถขายพืชผลได้เองมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลเกาหลีเหนือจะลดค่าเงินของเกาหลีเหนือจาก 2.2 วอนต่อ 1 เหรียญสหรัฐ เป็น 200 วอนต่อ 1 เหรียญสหรัฐ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับตัวเข้าสู่ระบบตลาดต่อไปในอนาคต
การปฏิรูประบบเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือมีความคืบหน้าที่ดีขึ้น ถือว่าประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยเกาหลีเหนือสามารถรับมือกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูปได้ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงการจัดสรรอุปทานพลังงานเพื่อรองรับความต้องการได้ดีขึ้น มีความพยายามเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้นทั้งในภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และการค้าระหว่างประเทศ ในปี 2546 ภาคเกษตรมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 4.156 ล้านตันจากความต้องการบริโภค 5.1 ล้านตัน ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 และภาคการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 2,390 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นมูลค่าสูงสุดในรอบ 11 ปี ปัจจุบัน รัฐบาลเกาหลีเหนือได้ให้อิสระมากขึ้นแก่ประชาชน รัฐวิสาหกิจ และบริษัทต่างๆ ในการเลือกประกอบอาชีพ การบริหารจัดการ การจัดทำข้อตกลงการค้าได้ นอกจากนี้ รัฐบาลยังจัดตั้งตลาดซื้อขายสินค้าเพิ่มอีกกว่า 300 แห่ง เพื่อรองรับการขยายตัวของการเข้าไปมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบเศรษฐกิจการตลาด ในขณะที่สตรีเกาหลีเหนือก็เข้าไปมีบทบาทในการหารายได้เลี้ยงครอบครัวเพิ่มขึ้นด้วย การประชุมสภาประชาชนสูงสุด (SPA) เมื่อ 11 เม.ย. 49 ที่ผ่านมา นโยบายทางเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือจะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ และการพัฒนาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี อันเป็นยุทธศาสตร์ของเกาหลีเหนือในการเพิ่มความสามารถในการผลิตและเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาตนเองได้ ตามหลักจูเช่ และเชื่อว่าเกาหลีเหนือจะเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง และอุตสาหกรรม Software (นาย Kim Jong Il เคยประกาศให้ศตวรรษที่ 21 เป็นยุคของการประวัติทางเทคโนโลยีสารสนเทศ) ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2541เป็นต้นมา เกาหลีเหนือประกาศว่าการสร้าง ”ประเทศที่เข้มแข็งและมั่งคั่ง” (Kangsong Taeguk- 강성대국) จะต้องตั้งอยู่บนเสาหลักสำคัญ 3 ประการคือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อุดมการณ์ และการทหาร ล่าสุด การประชุมสภาประชาชนสูงสุด เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2550 ได้มีการพิจารณาภารกิจสำคัญในปี 2007 โดยจะเน้นการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยยึดหลักการพัฒนาเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเบา เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภค นอกจากนี้ ภารกิจในปี 2007 จะยังคงเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเช่นปี 2006 เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เร่งด่วน

14 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อะนะ

มีแต่คนหนีออกมาจากปทเกาหลีเหนือ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อืม...น่าสนใจจังเลย..
ไม่น่าเชื่อว่าประเทศเกาหลีจะสามารถพัฒนาประชาชนของตัวเองได้ขนาดนี้..น่าอิจฉาจังเมื่อเปรียบเทียบกะไทยเราแล้ว

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ประเทศเกาหลีเป็นประเทศที่น่าสนใจในหลายด้าน


อีกทั้งยังมีเศรษฐกิจที่เจริญกว่าประเทศไทย


ดังนั้นเราควรจะไปศึกษาการบริหารเศรษฐกิจของประเทศเกาหลี

แล้วนำมาพัฒนาบ้านเมืองของเราให้เจริญยิ่งขึ้น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ระบอบการปกครองที่แตกต่างกันของเกาหลี

ทำให้เห็น ผลดี และผลเสียที่ แน่นอนมาก


มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

ก็อย่างว่าอะนะคับ

มีทั้ง ผลดีผลเสีย



แต่โดยรวม นับถือ ทั้งสองเกาหลีเลยคับ

เพระระบบการเมืองเค้าดีกว่าไทย แค่นั้นเอง

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ประเทศเกาหลีเหนือเป็นประเทศที่ปกครองโดยระบอบสังคมนิยม ซึ่งมีการดูเเลโดยอยู่ภายใต้การดูเเลของประเทศรัสเซีย ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเทศตัวเเทนทางอุดมการณ์ทางการเมือง หรือเรียกว่า สงคราวเย็นนั่นเอง

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

คนเกาหลีโดยพื้นฐานเป็นคนที่ ขยันมากกๆ
ในแต่ละวัน วันหนึ่งจะมีแต่ งานงานและก็งาน

ไม่น่าแปลกเลยที่สามารถ พัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลไปถึงชุมชนและประเทศ
การศึกษาในเรื่องประเทศเกาจึงถือเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างยิ่ง

อยากรู้ว่าคนเกาหลีแต่ดั้งเดิมมีแนวคิดและการดำรงชีวิตให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร
ช่วยตอบทีนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

นับถือ ระบบการปกครองบ้านเมือง

ของ ทั้ง 2 เกาหลี ค่ะ

ระบบอุตสาหกรรม ก็มีการวางรากฐานที่มั่นคง

สมแล้วที่เกาหลีจะมีการพัฒนาที่ก้าวกระโดด และต่อเนื่อง

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ถามอีกนิดว่า

ชาวเกาหลีที่อพยพ ไปอยู่ต่างประเทศมีมากน้อยแค่ไหน แล้วกระจายกันไปประเทศอะไรบ้าง
ไปประเทศไหนเป็นส่วนใหญ่ ด้วยสาเหตุอะไรจึงจำต้องอพยพไป ช่วยทีนะครับ

อยากรู้มานาน สนองทีนะครับ
ขอบคุณครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

การปกครองของประเทศเกาหลีทั่งเหนือและใต้มีการปกครองที่แตกต่างกันซึ่งการปกครองของทั้ง สองฝั่งต่างก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ดิฉันกับเพื่อนๆกำลังทำรายงานเกี่ยวกับ นโยบายต่างประเทศของเกาหลีเหนือสมัยคิมจองอิลเปรียบเทียบคิมจองอึน จะเป็นไปได้ไหมหากจะเชิญคุณไปเป็นวิทยากร

Apinyathorn กล่าวว่า...

ยุคคิมอิลซุง ดีกว่าคิมจองอิลอีก

rachelecadenas กล่าวว่า...

Black Titanium Ring by Ballyton. - TITanium.arts
The titanium bracelet object of the Black Titanium Ring is to have a large ring does titanium set off metal detectors that's larger than in the previous titanium rimless glasses design. There is a titanium tv black titanium ring on หารายได้เสริม

houghez กล่าวว่า...

ya633 guess nausnice,pumajapan,guess handtas,jott dunkåpe,guessskonorge,fila kr5,aritziaparis,rockportmontreal,hugo boss horloge hf014