วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เศรษฐกิจเกาหลี(ต่อ)




สรุปช่วง พ.ศ. 2504-2522 รัฐบาลมีนโยบายเศรษฐกิจสำคัญๆ คือ
1.มีการแทรกแซงจากรัฐบาลสูง ภายใต้รัฐบาลเผด็จการ มีการชี้นำทางเศรษฐกิจ และมี
นโยบายควบคุมทางการเมือง
2.ในการเตรียมและใช้นโยบาย มีการประสานงานใกล้ชิดด้านรายละเอียดระหว่างรัฐบาล
(รมต) ผู้นำธุรกิจและเทคโนแครต หรือข้าราชการกระทรวงสำคัญ
3.ใช้นโยบายดอกเบี้ยต่างระดับ ส่งเสริมอุตสาหกรรมเฉพาะสาขาเฉพาะราย
4.รัฐบาลสนับสนุนการซื้อถ่ายโอนเทคโนโลยีมากกว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
และไม่สนับสนุนให้ต่างชาติเข้าเป็นเจ้าของกิจการในประเทศยกเว้นในบางกรณี
ทศวรรษ 2520:
เมื่อถึงปลายทศวรรษ 2510 เศรษฐกิจเกาหลีใต้เปลี่ยนไป คนเกาหลีใต้ทั่วไปเริ่มไม่พอใจ
ระบบการเมืองที่รวมศูนย์อำนาจภายใต้ระบบเผด็จการทหาร และต้องการให้รัฐบาลนำระบบการ
เลือกตั้งตามแนวประชิปไตยมาใช้ ประชาชนจะได้มีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้น ในขณะเดียวกัน
เศรษฐกิจโลกก็มีปัญหาอีกครั้งเมื่อราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอีก ต้นทศวรรษ 2520 สังคมเกาหลีจึงประสบ
วิกฤตการณ์ 2 ด้าน คือ ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ
วิกฤตการณ์ทางการเมือง
มีเหตุการณ์สำคัญ 2 ช่วง คือ การลอบสังหารประธานาธิปบดี ผารค ชุง ฮี เมื่อ พ.ศ.2522 และ
การเดินขบวนต่อต้านประธานาธิปบดีคนต่อมาคือ ชุน ดู วาน พ.ศ.2530 จนทำให้ต้องลาออกไป โร
แต้ วู เข้ามาแทนและยอมให้มีการเลือกตั้งประธานาธิปบดีในกรอบประชาธิปไตยในปลายปีนั้น มูล
เหตุให้มีการประท้วงระบอบเผด็จการทหารคือ
1. การเมืองโลกเปลี่ยน
2. สังคมเกาหลีใต้มีความซับซ้อนมากขึ้น ฐานอำนาจกลุ่มใหม่ต้องการการเปลี่ยนแปลง
3. เผด็จการทหารเริ่มเป็นขีดจำกัดต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจ วิกฤต และนโยบาย
เศรษฐกิจเกาหลีใต้เติบโตมากในช่วง พ.ศ. 2519 -2521 หลังจากที่ ผารค ถูกลอบสังหาร เกิด
วิกฤตการณ์ตามมาเมื่อราคาน้ำมันพุ่งสูงอีกครั้ง พ.ศ. 2524 และเศรษฐกิจของประเทศร่ำรวยในยุโรป
และอเมริกาทรุดตัว พ.ศ. 2523 ผลิตภัณฑ์ประชาชาติของเกาหลีใต้ลดลงถึงร้อยละ 5 ดุลบัญชีเดิน
สะพัดขาดดุลเพิ่มขึ้น ระหว่าง พ.ศ.2524-2526 ถึงกระนั้นก็สามารถเจริญเติบโตในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 7
เกาหลีใต้ฉุดตัวออกจากปัญหาดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล ลดอัตราเงินเฟ้อและสามารถเพิ่มค่าจ้างจริง
ได้ร้อยละ 5 ต่อปี
มีปัจจัยช่วยจากภายนอกคือ การที่ค่าเงินสหรัฐฯสูงขึ้น หลัง พ.ศ. 2522 แต่เงินวอนมีค่าต่ำลง
ทำให้สินค้าที่ขายมีราคต่ำ การส่งออกจึงเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะเดียวกันก็มีการใช้สินค้านำเข้าอย่าง
ประหยัด มีมาตรการลดการใช้น้ำมันอย่างเคร่งครัดจนได้ผล ดังนั้นเมื่อราคาน้ำมันเริ่มลดลงหลังพ.ศ.
2524 และอยู่ในระดับค่อนข้างคงที่ระหว่าง พ.ศ. 2524-2527 เกาหลีใต้จึงได้ประโยชน์จากการส่งออก
และจากการที่อัตราการค้าระหว่างประเทศ (international term of trade) ดีขึ้น (ราคาสินค้าเข้าโดย
เฉลี่ยต่ำกว่าราคาสินค้าออกโดยเฉลี่ย ท่ำให้อัตราการค้าของราคาสินค้าออกต่อราคาสินค้าเข้าสูงขึ้น)
วิเคราะห์ตามแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจช่วงที่ 2
- ลักษณะอุตสาหกรรมในประเทศเริ่มเจริญเติบโต มีการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจให้เป็น
การส่งออกมากขึ้น
- โดยรัฐบาลเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในการพัฒนาเศรษฐกิจ ทั้งในด้านปฏิรูประบบการ
เงิน สร้างสถาบันการเงินให้เข้มแข็ง เพื่อระดมเงินออมภายในประเทศ ประกอบกับวางแผน
นโยบายให้มีความยืดหยุ่นเพื่อดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศ
- ลักษณะของภาคเกษตรกรรมของเกาหลีใต้ ลดบทบาทลงมาก คือมีการเพิ่มค่าจ้างเพื่อดึง
คนงานออกจากภาคเกษตร ซึ่งราคาสินค้าเกษตรเริ่มตกต่ำลงเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าอุตสาหกรรม
ดังนั้นรัฐบาลจึงแทรกแซงตลาดค้าข้าว และปัจจัยการผลิตทางด้านการเกษตร
- ส่วนทางด้านแรงงานเนื่องจากค่าจ้างแรงงานในภาคเกษตรต่ำกว่าภาคอุตสาหกรรม และยัง
มีแรงงานส่วนเกินเหลืออยู่ ภาครัฐมีการส่งเสริมให้คนงานและนายจ้างเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมรัก
ชาติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รัฐบาลควบคุมสหภาพแรงงานแข็งขัน ทำให้ตลาดแรงงานตื่นตัว
สหภาพแรงงานเริ่มเข้มแข็ง ทำให้ค่าจ้างแรงงานเพิ่ม


3.ช่วงที่ 3 เปิดเสรี – ปัจจุบัน
ปัจจัยด้านนโยบายของรัฐบาล มีการถกเถียงกันระหว่างนักวิเคราะห์เศรษฐกิจเกาหลีใต้ว่า
การฟื้นตัวอย่างรวดร็วของเกาหลีใต้หลัง พ.ศ. 2522-2523 นั้นเป็นผลจากอะไร ธนาคารโลกชี้ไปที่
นโยบายเปิดเสรี (Liberalization) ของรัฐบาล นักเศรษฐศาสตร์บางคนชี้ไปที่การแทรกแซงของรัฐ
บาลที่เหมาะสม
อลิศ แอมสเด็น เน้นให้ความสำคัญกับนโยบายช่วง พ.ศ. 2522-2525 ซึ่งมีสาระคือ
1.รัฐบาลเพิ่มการลงทุนภาครัฐบาลในช่วงที่การลงทุนของเอกชนลดลง เงินลงทุนนี้ส่วน
ใหญ่มาจากเงินกู้ต่างประเทศ
2.รัฐบาลใช้นโยบายลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยธุรกิจที่กำลังประสบปัญหาอุปสงค์ที่ลดลง
3.รัฐบาลส่งเสริมให้ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อย ที่กำลังจะล้มละลายได้รวมเข้าด้วยกัน
( Merger ) เป็นบริษัทเดียวเพื่อลดต้นทุนการบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการบริหารแบบใหม่
การจัดองค์กรใหม่ พ.ศ.2529 ส่งเสริมให้ธุรกิจอุตสาหกรรมหลายประเภทรวมกันจัดองค์กรใหม่
เพื่อให้แข่งขันได้ดีขึ้นกับต่างประเทศ ได้แก่อุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องปั่นไฟ และเครื่องจักรดีเซ ล
การส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีลักษณะเป็นอัตโนมัติมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้น
ทุนด้านแรงงานในขณะที่ตลาดแรงงานตึงตัวขึ้นแล้วทั้งนี้เทคนิคใหม่ๆ นี้เป็นสิ่งที่ประเทศญี่ปุ่นและ
ประเทศอื่นๆ เช่น สิงคโปร์ก็นำมาใช้ด้วยเหมือนกัน
แต่สิ่งที่แอมสเด็นเน้นเป็นเพียงภาพบางส่วนของนโยบายเศรษฐกิจทั้งหมดนอกจากที่กล่าว
มาแล้ว เกาหลีใต้ยังดำเนินนโยบายเสรีตามข้อตกลงกับ IMF เป็นการตอบแทนที่ IMF เข้ามาช่วยให้กู้
เงินเพื่อลดปัญหาดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล
มาตรการที่มีนโยบายเปิดเสรีนั้นก็คือ
1. พ.ศ.2524 ออกกฎหมายต่อต้านการผูกขาดเพื่อส่งเสริมการแข่งขัน
2. พ.ศ.2525 ยกเลิกการให้ดอกเบี้ยราคาถูกเพื่อช่วยการส่งออก
3. พ.ศ.2527 ลดหย่อนการควบคุม การลงทุนจากต่างประเทศ
4. พ.ศ.2527 เริ่มแปรรูปธนาคารที่เป็นของรัฐ แต่ใครจะได้เงินกู้เท่าไรในอัตราดอกเบี้ยเท่าไรยัง
คงอยู่ในวิจารญาณของรัฐบาลเกาหลีใต้ นอกจากนี้พวกแชโบลส์ คือบริษัทท้องถิ่นขนาดใหญ่ก็ซื้อ
หุ้นธนาคารกันจำนวนมาก ดังนั้นการเปิดเสรีระบบธนาคารจึงนำไปสู่การกระจุกตัวของการเป็นเจ้า
ของจากเอกชน
แอมสเด็นได้เสนอว่านโยบายเปิดเสรีเป็นสิ่งที่รัฐบาลทำ แต่จริงๆแล้วมีผลน้อยแม้
ธนาคารโลกจะพยายามโฆษณาว่า นโยบายเสรีแก้ปัญหาเศรษฐกิจเกาหลีใต้ แต่ใน พ.ศ.2530 ก็ยอม
รับว่า ที่ว่าการเปิดเสรีเกิดขึ้นแพร่หลายนั้นจริงๆแล้วไม่แน่นักวิจัยเศรษฐศาสตร์เกาหลีไม่เห็นพ้องกัน
คือไม่เห็นตาม World Bank แม้มีกฎหมายต่อต้านการผูกขาด พ.ศ.2524 ก็ยังแสดงความเป็นห่วงว่า
แทนที่จะลดการผูกขาดกลับเพิ่มการผูกขาด


ประเด็นที่ทำให้เกาหลีใต้ฟื้นตัวเร็วจริงแล้ว คือการที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯสูงขึ้นทำให้สิน
ค้าออกของเกาหลีใต้ถูกลง และเกาหลีใต้คงได้ประโยชน์สะสมจากประสบการณ์ที่มีมาประกอบกับ
รัฐบาลดำเนินนโยบายการคลังพอเหมาะ เพิ่มการใช้จ่ายในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ พ.ศ.2522-2525 เมื่อ
ส่งออกเพิ่มทำให้ภาระหนี้ลดลงรวดเร็วและรัฐบาลสามารถลดภาวะเงินเฟ้อด้วย
การกู้ยืมและลงทุนต่างประเทศ
นักลงทุนเอกชนเริ่มย้ายการลงทุนจากอุตสาหกรรมที่ต้นทุนสูง เช่น อุตสาหกรรมรองเท้า
เสื้อผ้ามาไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เมื่อถึงกลางทศวรรษ 2520 นับว่า เกาหลีใต้เปลี่ยน
สถานภาพเป็นประเทศพัฒนาแล้ว มีอุตสาหกรรมเหล็กซึ่งแข่งขันในตลาดโลกได้ มีอุตสาหกรรมอี
เล็กทรอนิกส์ ซึ่งขายทั่วโลกแข่งกับญี่ปุ่น และมีการวิจัยและพัฒนาของตนเอง เกาหลีใต้ผันจากที่
เคยได้เปรียบเพราะมีแรงงานไร้ฝีมือราคาถูก เป็นได้เปรียบเพราะมีแรงงานมีฝีมือราคาถูก
บทบาทธุรกิจขนาดใหญ่ (chaebols)และความสัมพันธ์กับรัฐบาล
การศึกษาเรื่องพัฒนาการอตุสาหกรรมของเกาหลีใต้ จะสมบูรณ์ไปไม่ได้ถ้าไม่ได้พิจารณาถึง
บทบาทความสำคัญท้องถิ่นขนาดใหญ่ที่เรียกว่า แชโบลส์ อุน มี กิม ( Eun Mee kim ) นักวิเคราะห์
ชาวเกาหลีเสนอว่า ประสบการณ์เป็นอุตสาหกรรมเป็นผลสำเร็จของเกาหลีใต้ ช่วงพ.ศ.2513-2533
เป็นจากการร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลกับบริษัทธุรกิจขนาดใหญ่ของท้องถิ่น หรือ แชโบลส์รัฐของ
เกาหลีใต้ในช่วงนี้มีลักษณะเป็นรัฐที่มุ่งเน้นการพัฒนา (developmental state) แชโบลส์ที่สำคัญๆ
ประกอบด้วยธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเป็นบริษัทข้ามชาติด้วย เช่น ฮุนได ซัมซุง แดวู ลักกี้ โกลส
ตาร์ รัฐบาลให้การสนับสนุนแชโบลส์ โดยให้เครดิตราคาถูก และอาจให้เงินอุดหนุนช่วยลดต้นทุน
การผลิตในกรณีสามารถส่งสินค้าออกได้ตามเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนด นอกจากนี้ รัฐบาลช่วยแช
โลส์โดยควบคุมแรงงานมิให้เรียกร้องค่าแรง อันจะส่งผลให้ต้นทุนทางด้านแรงงานของธุรกิจสูงขึ้น
และมีการออกกฎหมายแรงงานที่เข้านายจ้างมากกว่าลูกจ้าง แชโบลส์เหล่านี้มีขนาดใหญ่โตมาก
และจ้างงานจำนวนมาก พ.ศ.2530 แชโบลส์ขนาดใหญ่สุด10แห่งของเกาหลีใต้ ผลิตสินค้าคิดเป็น
ร้อยละ 28.2 ของผลผลิตหัตถอุตสาหกรรมทั้งหมดของประเทศ จ้างคนงานคิดเป็นร้อยละ 12 ของคน
งานหัตถอุตสาหกรรมทั้งหมด แชโลส์รายใหญ่ๆจะเป็นผู้ผูกขาดอุตสาหกรรมเครื่องจักรและ
เทคโนโลยีการผลิต แชโบลส์ใหญ่สุด 5 รายควบคุมการผลิตร้อยละ 40 ของสินค้าต่อไปนี้คือ ผลิต
ภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและเครื่องมือต่างๆ แชโบลส์ใหญ่สุด 30 แห่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 30 ของมูล
ค่าเพิ่มในภาคหัตถอุตสาหกรรมเมื่อพ.ศ.2537 แชโบลส์ผลิตสินค้าหัตถอุตสาหกรรมและบริการมาก
ชนิด แชโบลส์ขนาดใหญ่ทำธุรกิจหลายประเภทจึงมีลักษณะเป็นบริษัทข้ามชาติ


อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาล แชโบลส์ และกลุ่มผู้ใช้แรงงานก็มิใช่เป็นความ
สัมพันธ์ตายตัว มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงด้วย พ.ศ.2503-2513 รัฐบาลเป็นฝ่ายควบคุม แช
โบลส์และช่วยพัฒนาให้พวกเขาใหญ่โตขึ้น ช่วงนี้รัฐบาลควบคุมแรงงานเพื่อช่วยแชโบลส์
ช่วงพ.ศ.2513-2523 แชโบลส์ขนาดใหญ่ที่ต้องการลงทุนอุตสาหกรรมหนัก ( เหล็ก และเคมี ) ใกล้ชิด
กับรัฐบาลมากว่าแชโบลส์อื่นๆ และรัฐบาลเองก็ต้องการสนับสนุนการลงทุนอุตสาหกรรมหนักด้วย
ตลอดช่วงระยะนี้รัฐบาลก็ยังดำเนินนโยบายควบคุมแรงงาน เมื่อถึงพ.ศ.2523 ความสัมพันธ์อันแนบ
แน่นระหว่างรัฐบาลและแชโบลส์ขนาดใหญ่ หมายความว่าแชโบลส์สามารถส่งอิทธิพลให้รัฐบาลให้
เงินอุดหนุนพวกเขา หรือลดหย่อนภาษีให้มากขึ้นๆ จนในช่วงนี้ความสัมพันธ์กลับกลายเป็นว่า
แชโบลส์มีอำนาจเหนือรัฐบาล ผลก็คือเมื่อแชโบลส์ยิ่งใหญ่ขึ้นและต้องการการอุดหนุนจากรัฐบาล
มากขึ้น ก็แย่งชิ่งทรัพยากรที่รัฐบาลมีอยู่ทำให้รัฐบาลลงทุนด้านประกันสังคม และสวัสดิการสังคมลด
ลง รวมทั้งการลงทุนทางด้านการวิจัยและการพัฒนาก็ถูกผลกระทบไปด้วย อิทธิพลของแชโบลส์
เหนือรัฐบาลมีมากช่วงหลังพ.ศ.2523 จนเป็นที่กล่าวขานกันว่าพวกเขามีฐานะเป็นสาธารณะรัฐ
แชโบลส์ ( Chaebols Republic ) ณ จุดนี้อิทธิพลของแชโบลส์เหนือรัฐบาลนำไปสู่ภาวะที่รัฐบาลยิ่ง
ขัดแย้งกับผู้ใช้แรงงาน และรัฐบาลต้านทานแรงกดดันจากสาธารณชนให้ปรับเปลี่ยนระบบการปก
ครองจากเผด็จการเป็นระบบประชาธิปไตย จนความขัดแย้งนี้ในท้ายที่สุดลุกลามเป็นการเดินขบวน
ประทว้งเมื่อพ.ศ.2530 จนต้องมีการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบการเมืองเกิดขึ้น
สำหรับสถานการณ์ช่วงทศวรรษ 2530 นั้น นักวิเคราะห์เกาหลีใต้ มีความเห็นว่าแชโบลส์
ขนาดใหญ่จะต้องลดบทบาทลง และปรับความสัมพันธ์กับรัฐบาลให้เอื้อกับการพัฒนาธุรกิจขนาด
ย่อมและพัฒนาการระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
ในทางทฤษฎีมีการอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองว่าเป็นผลจากเปลี่ยนแปลง
ทางเศรษฐกิจ
ทฤษฎีความทันสมัย ( Modernisation ) ยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจไปสู่ความ
เป็นอุตสาหกรรมก่อให้เกิดกลุ่มสังคมใหม่ๆ ที่ต้องการมีสิทธิมีเสียงในการปกครองประเทศ ( ชนชั้น
กลาง นายธนาคาร คนงานนั่งโต๊ะ ผู้ใช้แรงงาน ชาวนากลางและรวย ) แต่นักทฤษฎีกลุ่มนี้เสนอว่า
หากดูประสบการณ์ประเทศพัฒนาแล้ว จะเห็นได้ว่าแนวโน้มจะมีการปรับเปลี่ยนระบบการเมืองเป็น
ประชาธิปไตยมากขึ้น
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงสังคมแนวมาร์กซิสม์ดั้งเดิม ( Orthodox Marxist ) อธิบายถึงชนชั้น
ที่ขัดแย้งกันคือทุนและแรงงานว่านำไปสู่การปฎิวัติคนงาน
มีทฤษฎีแตกย่อยที่อธิบายปรากฎการณ์การคงอยู่ของเผด็จการ ทำให้ไม่มีการปฎิวัติจากชน
ชั้นล่าง โดยให้เหตุผลว่าเกิดจาดสถานการณ์ต่อไปนี้
1 ) นายทุนไม่เป็นใหญ่ นายทุนเกรงกลัวปัญหาการลุกฮือของชาวนา คนงาน จึงยืมมือทหาร
คุมชาวนาและคนงานโดยระบบเผด็จการ จนกว่าจะมั่นใจว่าชาวนาและคนงานจะไม่ต่อต้านพวกตน
จึงจะยอมให้ทหารลดบทบาทลง
2 ) นายทุนแข็งเก่รงและมั่นใจ จึงตั้งพรรคการเมืองลดบทบาททหาร เข้ากุมกระบวนการตัด
สินใจตั้งคณะรัฐมนตรี เมื่อทุนนิยมพัฒนามากๆก็มั่นใจมากจนยอมให้มีพรรคการเมืองหลากหลาย
3 ) แต่อาจมีการพยายามตั้งระบบบรรษัทนิยม ( Corporatism ) โดยรับเป็นตัวควบคุมกลุ่ม
สำคัญ คือ นายทุนและแรงงาน
4 ) พลังสังคมอันหลากหลายก็มีอยู่ เกิดเป็นแรงต้านบรรษัทนิยม
5)แนวคิดการก่อตัวของชนชั้นและความขัดแย้งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอาจไม่จำเป็นต้อง
เหมือนที่มาร์กซ์วิเคราะห์ไว้ การก่อเกิดชนชั้นที่อาจจะหลากหลาย ความขัดแย้งนำไปสู่การมียุทธวิธี
เผชิญหน้ากัน หรือสร้างพันธมิตรระหว่างกันเพื่อลดทอนอำนาจของฝ่ายตรงข้าม ระบบการเมืองเปิด
นำไปสู่การต้องเข้าใจพลังที่สร้างพันธมิตร หรือเผชิญหน้ากรอบประชาธิปไตยหรือการเมืองเปิดช่วย
ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนขึ้น
ประชาธิปไตยอาจมีหลายรูปแบบ การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสำคัญในแง่เป็นตัวแปรนำไปสู่
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้
ในเกาหลีใต้การเปลี่ยนแปลงไปเป็นประเทศอุตสาหกรรม ทำให้เกิดคนกลุ่มใหม่ๆที่มีอิสระ
จากระบบราชการ คนกลุ่มใหม่คือนักลงทุน นักวิชาชีพ คนงานมีการศึกษาระดับสูงที่กินเงินเดือน
ประจำ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ชาวนาเป็นคนส่วนน้อย
ในกรณีของเกาหลีใต้การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม ก็ได้นำไปสู่การเรียกร้องให้
เปลี่ยนระบบการปกครองจากระบบรวบรวมศูนย์อำนาจมาเป็นระบบประชาธิปไตยเพื่อให้ประชาชน
มีสิทธิมีเสียงเลือกตั้ง
ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีใต้มีระบบเผด็จการทหารมาโดยตลอดและมีการใช้
ยุทธวิธีคือ รัฐบาลก่อตั้งกลุ่มคนงานและสนับสนุนธุรกิจเป็นพรรคพวก โดยสหรัฐฯสนับสนุนอยู่
เบื้องหลังจนเมื่อ ผารค ชุง ฮี ถูกรอบสังหารก็มีรัฐประหารอีกรอบคือเมื่อ ชุน ดู วาน ขึ้นมาเป็น
ประธานาธิบดีในพ.ศ.2520 เขาไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งทั่วไป แต่ได้รับการเลือกตั้งจากสภานิติบัญญัติ
ซึ่งมีประธานาธิบดีแต่งตั้งขึ้น ประชาชนนำโดยนักศึกษา คนงาน พรรคฝ่ายค้าน เรียกร้องให้มีการ
เปลี่ยนแปลงการปกครองมาโดยตลอดในทศวรรษ 2520 แต่ ชุน ดู วาน ก็ดึงดันและประกาศจะใช้วิธี
แต่งตั้งประธานาธิบดีเมื่อตัวเขาเองจะสิ้นสุดอายุการเป็นประธานาธิบดี ในพ.ศ.2530 ประชาชนไม่พอ
ใจมาก ออกมาเดินขบวนเหมือนพฤษภาคม พ.ศ.2535 ของไทย รัฐบาลใช้มาตรการรุนแรงนำไปสู่
ความวุ่นวายมากทำให้ ชุน ดู วาน ต้องลาออกไปและโร แต้ วู ประธานพรรครัฐบาลออกมายอมรับจะ
ให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปลายพ.ศ.2530 หลังจากนั้นก็ได้เห็นกระบวนการเรียกร้อง
ประชาธิปไตยในเกาหลีใต้ รวมทั้งการรวมตัวของคนงานต่อต้านการที่รัฐบาลตั้งกลุ่มคนงานของรัฐ
บาลมาต่อต้านการรวมตัวเป็นสหภาพของคนงานทั่วไป
การพัฒนาเศรษฐกิจหลังเกิดวิกฤตการเงินในเอเชีย
ตั้งแต่มีการทบทวนนโยบายการค้าครั้งล่าสุดเกาหลีมีความพยายามที่จะทำให้เศรษฐกิจของ
ประเทศฟื้นตัว หลังจากเกิด วิกฤตการเงินเอเชีย ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันมีเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ในระยะสั้น โดยมีแผนพัฒนาใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศ
รวมถึงเศรษฐกิจโดยรวมเริ่มซบเซาลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2543 โดยมีหนี้สินของภาคครัวเรือนเพิ่ม
ขึ้น เกิดปัญหาในเรื่องการส่งออกและเรื่องการปฏิรูปโครงสร้างพื้นที่ เบื้องหลังการเติบโตของเกาหลี
มาจากการขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักร นั่นแสดงให้เห็นว่าเกาหลีมีความพร้อมทางเศรษฐกิจที่จะก้าว
กระโดดขึ้นไปอยู่ในระดับสูงของการเจริญเติบโต
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจภายในประเทศ
หลังจากเกิดวิกฤตทางการเงินในเอเชีย ปี 2540 และความซบเซาของธุรกิจในปี 2541 ได้มี
นโยบายในการทำให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ รวมทั้งได้มีการปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
อย่างกว้างๆจากความเห็นชอบของหลายๆฝ่าย ทำให้ได้รับความช่วยเหลือในการกู้เป็นอย่างดี
แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจโลกจะเริ่มชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2543 แต่สภาพทาง
เศรษฐกิจของเกาหลีก็ยังมีศักยภาพในระดับที่ดีอยู่ ซึ่งในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของเศรษฐกิจโลกที่กำลัง
ชะลอตัวลง รัฐบาลใช้นโยบายกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ และธนาคารเกาหลีเริ่มทำตามนโยบาย
โดยการลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนกรกฎาคม ปี 2546 จากการที่ความต้องการภายในประเทศเพิ่มขึ้น
และศักยภาพการส่งออกที่เข้มแข็ง เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจเกาหลีมีการเติบโตขึ้นแบบก้าว
กระโดดถึง 7.1% ในปี 2545 ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงดำเนินต่อไปแบบชะลอตัว
การกระตุ้นของอุปสงค์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2544 ทำให้เกิดหนี้สินทางการเงิน เป็นสาเหตุ
หลักในการสะสมของหนี้ที่มากขึ้นในภาคครัวเรือน ซึ่งตรงกันข้ามกับภาคเอกชนที่มีสัดส่วนหนี้ที่มี
เสถียรภาพหลังจากที่มีความพยายามในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการดำเนินงานของเอกชน อย่าง
เข้มงวดตามภาวะเศรษฐกิจ ต่อมาในปี 2543 อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจเกาหลีลดลง 3.1%
ซึ่งหนี้ภาคครัวเรือนแฝงตัวอยู่กับการเจริญเติบโตในส่วนของการบริโภค ขณะที่การลงทุนมีแนวโน้ม
ซบเซาลงท่ามกลางความไม่แน่นอนระหว่างประเทศ
ภายใต้การทบทวนในระยะเวลาเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อไม่รุนแรงนักและอัตราแลกเปลี่ยนต่าง
ประเทศค่อนข้างมีเสถียรภาพ แต่มีอัตราการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นในปี 2546 ต่อมาในปี 2547 เกิดเสถียร
ภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้น และเศรษฐกิจทั่วโลกได้กลับคืนสู่สภาพเดิมทำให้ความต้องการของผู้
บริโภคเพิ่มขึ้น โดยนักธุรกิจเกาหลีคาดหวังกับอัตราการเติบโตอันใกล้ให้เพิ่มมากกว่า 5% ซึ่งไตร
มาสแรกของปี 2547 เศรษฐกิจของเกาหลีเติบโตมากกว่า 5.3% เมื่อเทียบจากช่วงเวลาเดียวกันในปี
ก่อน โดยมีบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ทำให้ความต้องการภายในประเทศมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นหมายถึงการ
บริโภคและการลงทุนในภาคเอกชนสามารถช่วยให้สภาพทางเศรษฐกิจเกิดความมีเสถียรภาพมากขึ้น
การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ
ระหว่างที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ในไตรมาสที่สองของปี 2543 การส่งออกของเกาหลีมี
จำนวนลดลง 12.7% ( $ 150.4 พันล้าน ) ในปี 2001 ซึ่งสวนทางกับปีก่อนที่เพิ่มขึ้น 19.9% ( $ 172.3
พันล้าน ) ปี 2543 การนำเข้า 34% เป็น $ 160.5 พันล้าน ซึ่งเพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ
นับเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ตื่นตัวได้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 และราคาน้ำมันในต่าง
ประเทศมีการเคลื่อนไหว โดยในปี 2544 การนำเข้าได้หยุดอยู่ที่ 12.1% ( $ 141.1 พันล้าน ) ดังตาราง
ที่ 1

ตารางที่ 1 Korea Trade Statistics (US$ million)

ที่มา : Korea International Trade Association; Bank of Korea.
ในปี 2545 การส่งออกไปยังจีนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และประเทศพัฒนาแล้วทำให้การส่งออกเติบ
โตขึ้นถึง 8% เป็นเงินทั้งสิ้น $ 162.5 พันล้าน โดยแนวโน้มการส่งออกแข็งแกร่งขึ้นในปี 2546 เพิ่มขึ้น
19.3% เป็นเงิน $ 193.8 พันล้าน การนำเข้าเพิ่มขึ้น 7.8% เป็น $ 152.1 พันล้านในปี 2545 และเพิ่มขึ้น
12.6% เป็น 178.8 พันล้านในปี 2546 การเพิ่มขึ้นนี้ทำให้บัญชีมีการเคลื่อนไหวในด้านการนำเข้าวัตถุ
ดิบและเชื้อเพลิงเท่ากับผลการขยายตัวของการส่งออกประกอบกับราคาน้ำมันและราคาวัตถุดิบโลก
สูงขึ้น


บัญชีดุลการค้าเกินดุลระหว่างปี 2541 สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงปีต่อปี ใน
ปี 2541 ดุลการค้าลดลงเป็น $ 8 พันล้านระหว่างที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง การส่งออกมีอัตราลดลง
มากกว่าการนำเข้าสำหรับประเทศเกาหลี ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงในปี 2545 ดุลการค้าได้ถูก
กระตุ้นด้วยการส่งออกที่เข้มแข็ง ผลคือ ทำให้บัญชีเดินสะพัดเกินดุล $ 12 พันล้านในปี 2546
ตั้งแต่ปี 2543 รายการสินค้าส่งออกสำคัญของเกาหลี คือ รถยนต์ เซมิคอนดักเตอร์
คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ โดยรถยนต์และโทรศัพท์มือถือทำให้ส่วนแบ่งของมูลค่าการส่ง
ออกเพิ่มขึ้น ขณะที่ส่วนแบ่งของเซมิคอนดักเตอร์ได้ลดจำนวนลงอย่างกะทันหันในปี 2544 และราย
การนำเข้าสำคัญ คือ วัตถุดิบรวมกับน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และเซมิคอนดักเตอร์ ส่วนแบ่งของน้ำ
มันดิบที่เคยนำเข้าเป็นจำนวนมากได้ลดจำนวนลงเป็น 12.9% ในปี 2546 จากเดิมนำเข้า 15.7% ในปี
2543 แสดงได้ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 Trade of Major Products (%)



ที่มา : Korea International Trade Association
ประเทศคู่ค้าหลักของเกาหลี ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน และยุโรป การส่งออกมีอัตราเพิ่มขึ้น
อย่างสม่ำเสมอหลังปี 2544 สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดคู่ค้าสำคัญของเกาหลี แต่เกาหลีส่งสินค้าออกไป
ยังประเทศจีนมากกว่าสหรัฐอเมริกา

หลังจากเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2540 รัฐบาลเกาหลีได้จัดทำนโยบายเปิดเสรี และได้
สร้างบรรยากาศการลงทุน โดยมีการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจที่มีชื่อเสียงในอดีตและการข้ามชายแดน
MQAs ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสให้ FDI เข้ามาในประเทศเกาหลี ในช่วงปี 2542 และปี 2543 FDI ได้
ลดจำนวนลงเพราะภาวะชะงักงันของเศรษฐกิจโลก และในปี 2544 FDI ได้หยุดการไหลเข้าเกาหลี
เพราะนักลงทุนเกาหลีได้เปลี่ยนแปลงทิศทางการลงทุนไปยังประเทศจีน
การเปิดเสรีตลอดจนการปฏิรูปภายในประเทศ
มีการพึ่งพาการปฏิรูปโครงสร้างทางด้านการเงิน บริษัท แรงงาน และภาคสาธารณะ ตั้งแต่
ครั้งวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย รัฐบาลเกาหลีขณะนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะปฏิรูปและเปิดเสรี เพื่อ
เป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงสภาพทางเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะ
เป็นการเพิ่มศักยภาพการเติบโตของประเทศเกาหลี คือมีการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม มีการพัฒนาด้าน
R&D และด้านเทคโนโลยี ขณะเดียวกันก็ได้มีการกระจายการพัฒนาไปยังพื้นที่ต่างๆ ทำให้โครง
สร้างเศรษฐกิจเกาหลีก้าวหน้าขึ้น สิ่งเหล่านี้เองที่เป็นแรงผลักดันให้ประเทศเกาหลีกลายมาเป็นศูนย์
กลางธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และมีบทบาทในการสนับสนุนสันติภาพและความสำเร็จใน
ดินแดนแถบนี้ รัฐบาลพยายามที่จะทำให้ระบบการเงินแข็งแรงขึ้น และโครงสร้างทางการปกครอง
เป็นไปอย่างโปร่งใส โดยรัฐสนับสนุนโครงสร้างทางวัฒนธรรมในการจัดการด้านแรงงานให้มีความ
ยืดหยุ่นมากขึ้น ตลอดจนมีความมั่นคงในตลาดแรงงาน และนอกเหนือจากนี้ การปฏิรูปการควบคุม
และการเปิดเสรีการลงทุนจากต่างชาติ เป็นส่วนสำคัญในการชักจูงให้แต่ละส่วนของภาครัฐพยายาม
ทำธุรกิจ
1. การปฏิรูปด้านโครงสร้าง
ภาคการเงิน
กระบวนการปฏิรูปทางด้านการเงินมุ่งเน้นไปที่โครงสร้างเบื้องต้นของธนาคาร เพราะว่า
วิกฤติการณ์ทางการเงินของเอเชียเกิดจากการธนาคารที่ด้อยพัฒนา โดยจำนวนธนาคารพาณิชย์
(commercial bank) ของเกาหลีลดลงจาก 33 แห่งในปลายปี 2541 เหลือ 19 แห่งในปลายปี 2003 และ
ธนาคารพาณิชย์เอกชน ( merchant bank ) ลดจำนวนลงจาก 30 แห่ง เหลือ 2 แห่ง ในช่วงเวลาเดียวกัน
การจัดการของธนาคารที่ต้องเน้นความสำคัญมากขึ้นคือในเรื่องความสามารถในการทำกำไร และการ
จัดการความเสี่ยง เพื่อลดความสูญเสียที่ไม่คาดคิด โดยกลยุทธ์การจัดการใหม่ของเกาหลีจะช่วยให้
ฐานะทางการเงินดีขึ้น โดยใช้อัตราส่วน ROA , ROE , BIS และ NPL ในการวัดระดับ
ธนาคารต่างชาติได้รับอนุญาตให้เปิดสาขาย่อยในเกาหลีได้ด้วยความยินยอมจาก Financial
Supervisory Commission (FSC) โดยมีธนาคารสาขาย่อยจากต่างชาติ 39 แห่งที่ดำเนินการในเกาหลี
จากสาขาย่อยทั้งหมด 65 แห่ง ขณะที่ภาคธนาคารแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไรได้ดี
ขึ้น แต่ภาคการเงินกลับมีกำไรลดลงและเกิดหนี้สิน โดยอุตสาหกรรมเครดิตการ์ดมีหนี้สูงถึง 10,474
พันล้านวอน ( $ 8.7 พันล้าน) ภาครัฐจำเป็นต้องวางแผนในการแนะแนวทาง เพื่อป้องกันการเกิดสัด
ส่วนการค้างชำระหนี้ของบริษัทเครดิตการ์ด ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางการเงินที่มากขึ้น
ภาคธุรกิจ
จากการปฏิรูปภาคการเงิน รัฐบาลเกาหลีก็ได้ปรับปรุงโครงสร้างภาคบริษัท ควบคู่ไปด้วย
วัตถุประสงค์หนึ่งก็เพื่อปกป้องสถาบันการเงินจากการสะสมของสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน การล้ม
ละลายเป็นการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาในการชำระหนี้สิน และการกู้คืนชื่อเสียงสำหรับบริษัทที่
ประสบปัญหา ในขณะเดียวกันบริษัทการจัดการสินทรัพย์ของเกาหลี(KAMCO) มีบทบาทสำคัญใน
การทำให้การชำระหนี้สินง่ายขึ้น และภาครัฐมีการจัดตั้งระบบการปรับปรุงโครงสร้างอย่างรุดหน้า
โดยประกาศใช้การสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างบริษัทในปี 2544 ภายใต้ระบบดังกล่าวเจ้าหนี้ผู้
ให้เครดิตด้านการเงินต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากบริษัทผู้เป็นลูกหนี้
จากนโยบายการค้าการปฏิรูปบริษัทจะมุ่งเน้นไปที่การโปร่งใสของการจัดการบริษัท และ
ความสัมพันธ์ภายในกลุ่มและความมั่นคงของผู้ถือหุ้นสำหรับความรับผิดชอบในการจัดการและการ
ควบคุม
ภาคแรงงาน
หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินของเอเชีย รัฐบาลของเกาหลีไม่ได้ผ่อนปรนการบังคับ คือ
อนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงโดยมีความยืดหยุ่นในตลาดแรงงาน และในขณะเดียวกันมีการรายงาน
ถึงการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของความปลอดภัย การประกันสุขภาพ และการให้เงินบำนาญมีการขยาย
เพิ่มขึ้นใน 2546 รวมถึงมาตรฐานแรงงานที่ได้ปรับปรุงในเดือนกันยายน 2546 โดยลดชั่วโมงการ
ทำงานต่อสัปดาห์จาก 44 เป็น 40 ชั่วโมง กฎหมายใหม่พิจารณาในเรื่องการทำงานให้ปรับปรุงตาม
ชนิดของอุตสาหกรรมและขนาดของที่ทำงาน
ในเดือนกันยายน 2546 รัฐบาลได้ประกาศถึงการปฏิรูปโรงงานอุตสาหกรรมโดยมีวัตถุ
ประสงค์ 3 อย่างในการปฏิรูปคือ ลดต้นทุนทางด้านสังคม ตระหนักถึงตลาดแรงงาน ซึ่งมีความขัด
แย้งระหว่างความยืดหยุ่นและความมั่นคง และการที่สังคมพยายามจะปกป้องคนงานที่อ่อนแอ
นโยบายที่สำคัญของรัฐบาลที่จะต้องมาก่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับวัยรุ่นประกอบไปด้วย
แรงงาน การจัดการ และตัวแทนของรัฐบาล ซึ่งโดยสรุปแล้วก็คือปรับปรุงโอกาสในเรื่องของการ
ทำงาน โดยสหภาพแรงงานมีความเห็นว่าควรจะร่วมมือกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและไม่ทำสัญญาที่
ผิดกฎหมายรวมถึงเรื่องความโปร่งใสในการจัดการด้วย
ภาคสาธารณะ
เมื่อเร็วๆนี้ รัฐบาลเกาหลีได้มีการบวนการปฏิรูปผู้ประกอบการ(SOEs) ในระยะสั้นโดย
SOEs ได้ปรับปรุงคุณภาพการบริการของพวกเขาโดยลดราคาสำหรับผู้บริโภคและเพิ่มกำไรโดยใช้
นวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งอุตสาหกรรมต่างๆรวมทั้งอิเล็กทรอนิกส์ และอุสาหกรรมก๊าซ มีการทำให้เป็น
สาธารณะมากขึ้นสำหรับพวกที่ไม่ใช่ SOEs นั้นก็ควรปรับปรุงเรื่องความโปร่งใสเพื่อจะทำให้เป็น
สาธารณะมากขึ้นโดยเชื่อมโยงข้อมูลทางด้านการเงิน
ในปี 1998 รัฐบาลเกาหลีได้ปล่อยให้มีการปฏิรูปขึ้นโดยมีเป้าหมายคือเพิ่มระดับของประ
สิทธิภาพ ความโปร่งใส การอำนวยความสะดวก และการเข้าถึง ในเวลาเดียวกันมีการเพิ่มขึ้นของ
อำนาจการตัดสินใจสำหรับเรื่องของการเป็นตัวแทนคือตำแหน่งของรัฐบาลมีการเปิดให้สมัครจากคน
ภายนอกมากขึ้น โดยรัฐบาลสนับสนุนในเรื่องของการปฏิรูปในตัวรัฐบาล และสิ่งที่สำคัญคือการเริ่ม
ต้นในเรื่องของ e-government ซึ่งเป็นเครื่องมือในการวัดความหลากหลายรวมถึงทำให้ระบบข้อมูล
ของรัฐบาลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
2. การปฏิรูปด้านข้อบังคับ
ในทำนองเดียวกับการปฏิรูปทางด้านโครงสร้าง เกาหลีก็มีมาตรการในการปฏิรูปข้อบังคับ
ให้มีสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ดีเพื่อเสริมสร้างกลไกตลาดให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย
มีคณะกรรมการปฏิรูปข้อบังคับ (Regulatory Reform Committee หรือ RRC ) ร่วมกับสมาชิกจาก
ภาครัฐ 7 องค์กร และหน่วยงานที่ไม่ใช่ภาครัฐ 13 องค์กร ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2541 ให้เป็นศูนย์กลางการ
ดำเนินงานปฏิรูป การทำงานมุ่งเน้นไปที่การเปิดเสรี ผลก็คือการควบคุมลดลงครึ่งหนึ่งจากปี 2541
มายังปี 2542 ความสำเร็จเบื้องต้นนี้เป็นแรงกะตุ้นให้เน้นการเปิดเสรีกลไกตลาดและเน้นการแข่งขัน
มากขึ้นหลังจากเกิดวิกฤตการณ์การเงินของเอเชีย ในขณะเดียวกัน RRC ได้สร้างระบบเฝ้าระวังและ
วิเคราะห์ผลกระทบของข้อกำหนดด้วย
RRC ได้พยายามปรับปรุงสาระสำคัญของข้อบังคับด้วยมาตรการหลายอย่างรวมทั้งลอก
เลียนแบบ
( Benchmarking ) บทเรียนจากประเทศอื่นๆ ในปี 2546 รัฐบาลกำหนดขอบเขตของการปฏิรูปข้อ
บังคับ 10 ประการอาทิ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ การบริการทางการเงิน Logisticsและการ
กระจายสินค้า การใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยพยายามปรับปรุงให้เกิดสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดี รวม
ทั้งเห็นความสำคัญของข้อบังคับโดยให้เป็นองค์ประกอบหนึ่งของโครงการปฏิรูปเศรษฐกิจ
ในเดือนเมษายน 2547 RRC ได้ตั้ง Corporate Difficulties Resolution Center เพื่อให้บริการ
เบ็ดเสร็จในจุดเดียว ( one-stop service ) แก่องค์กรธุรกิจที่มีปัญหา และหากจำเป็นก็อาจประชุมร่วม
กันของนายกรัฐมนตรีเพื่อช่วยกันหาทางออก ตั้งแต่ก่อตั้งศูนย์นี้ได้ 3 เดือนมีกรณีปัญหา 146 กรณี
โดยแก้ไขไปแล้ว 118 กรณี
3. การเปิดเสรีการลงทุนจากต่างประเทศ
หลังจากเกิดวิกฤตการณ์การเงินของเอเชียในปี 2540 รัฐบาลเกาหลีได้ออกมาตรการต่างๆเพื่อ
เปิดรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่ง FDI มีบทบาทสำคัญต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจเกาหลี
โดยได้มีการออกกฎหมายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ (FIPA)เมื่อปี 2541 เพื่อเปิดเสรีและให้
ความคุ้มครองการลงทุนจากต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีแรงจูงใจหลายประเภทและปรับปรุงมาตร
การการดำเนินธุรกิจและเงื่อนไขการใช้ชีวิตในเกาหลีสำหรับนักลงทุนต่างชาติ
จนกระทั่งมิถุนายน 2547 จากภาคธุรกิจจำนวน 1058 แห่ง มี 99.8% ที่จัดเป็นอุตสาหกรรม
มาตรฐานเกาหลี อาศัยเงินทุนจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ยกเว้นธุรกิจ 2 ประเภทคือ กิจ
การวิทยุและกิจการโทรทัศน์ ที่ยังคงมีการควบคุมเข้มงวด และมีภาคธุรกิจ 26 แห่งที่กำหนดให้มี FDI
บางส่วน ในปัจจุบัน FDI สามารถอยู่ในรูปการตั้งบริษัท M&A การระดมทุน เงินกู้ระยะยาว การ
ระดมทุนหลายประเภทมีการแรงจูงใจหลายประการ เช่น ตามกฎหมาย FIPA ไม่เพียงครอบคลุมถึง
บริษัทต่างชาติ แต่รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนต่างชาติด้วย อาทิโรงเรียน โรงพยาบาล
ร้านยาและที่พัก นอกจากนี้ธุรกิจต่างชาติยังได้รับการยกเว้นภาษีในเขตการลงทุนต่างชาติและเขต
เศรษฐกิจเสรี
ความพยายามปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจด้วยการบริหารจัดการและสร้างความร่วมมือ
ทางธุรกิจ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ Invest KOREA ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการสนับสนุนการลงทุนแก่นักลง
ทุนต่างชาติในลักษณะบริการเบ็ดเสร็จในจุดเดียว ทำหน้าที่คล้ายกับผู้จัดการโครงการสนับสนุนนัก
ลงทุนต่างชาติ ในด้านขั้นตองการลงทุน นอกจากนี้ Invest KOREA ยังมีหน่วยงาน OIO (Office of
Investment Ombudsman) ทำหน้าที่ช่วยแก้ไขปัญหาให้บริษัทต่างชาติและมีกลุ่มงานสนับสนุนด้าน
แรงงานสัมพันธ์ช่วยเหลือในประเด็นด้านแรงงาน พร้อมทั้งมีโรงเรียนนานาชาติมากขึ้น ขยายวีซ่าให้
ปรับปรุงบริการด้านการแพทย์เพื่อพัฒนามาตรฐานการใช้ชีวิตให้แก่นักลงทุนต่างชาติ
ความพยายามเปิดเสรีของเกาหลีใต้ เป็นผลเนื่องมาจากในปี 2538 เกาหลีได้ขอสมัครเป็น
สมาชิกในกลุ่มประเทศ OECD แต่ผู้ตรวจสอบของกลุ่ม OECD แจ้งแก่เกาหลีว่าระบบเศรษฐกิจของ
เกาหลีมีกฏเกณฑ์การบังคับมากเกินกว่าที่เข้าเป็นสมาชิกได้ แม้ว่าเกาหลีจะมีระดับรายได้มากกว่า
ประเทศสมาชิกอื่นๆ อีก 25 ประเทศ (โปรตุเกส กรีก และเม็กซิโก)

และในเดือนตุลาคม 2539 กลุ่ม OECDได้อนุมัติการเข้าเป็นสมาชิกของเกาหลี แต่เกาหลี
ต้องสัญญาว่าจะดำเนินการให้มีมาตรการเสรีบางประการ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการค้าและการ
ลงทุน)มีผลใช้ได้ภายใน สองสามปีข้างหน้า

สรุป
เศรษฐกิจของเกาหลีใต้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งเป็นผลมาจากการวางแผนนโยบายอย่าง
รอบคอบ และมียุทธศาสตร์ในการพัฒนาที่ชัดเจน สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
ซึ่งเอกลักษณ์ เฉพาะอยู่ตรงที่ คำนิยมการส่งเสริมทางด้านการศึกษาของประชากร และเมื่อผนวกกับ
บทบาทของรัฐบาลและสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจ จึงส่งผลทำให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่าง
ต่อเนื่อง เมื่อแบ่งการพิจารณาขั้นตอนทางด้านสังคมเป็น 3 ช่วง ดังนี้
ช่วงแรก สภาพสังคมยังคงเป็นแบบเกษตรกรรม ซึ่งเป็นช่วงที่อยู่ในภาวะหลังสงครามโลก
ครั้งที่ 2 และสงครามเกาหลี ทำให้สหรัฐได้เข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเกาหลี อยู่ใน
รูปของเงินช่วยเหลือ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่งผลทำให้รายได้ต่อหัวเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกัน
ก็สะท้อนถึงความจำเป็นที่ต้องพึ่งพาจากต่างประเทศ
ช่วงที่สอง นับได้ว่าเป็นช่วงที่ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ คือ เศรษฐกิจจะมีการก้าว
กระโดดจากประเทศเกษตรกรรมไปสู่ประเทศอุตสาหกรรม รัฐบาลเข้ามามีบทบาทโดยดำเนินการจัด
ตั้งอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานของประเทศ ซึ่งส่งผลต่อเนื่องต่ออุตสาหกรรมอื่นๆ และสอดคล้องกับ
อุตสาหกรรมครอบครัวขนาดใหญ่ (แชโบล) ซึ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมการส่งออก จนรูปแบบอุต
สาหกรรมมีการพัฒนาจากอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก (Labor intensive) กลายเป็นอุตสาห
กรรมที่ใช้เทคโนโลยี (Technology intensive) ซึ่งมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควบคู่ไปด้วย
ช่วงที่สาม ช่วงเปิดเสรี ภายหลังจากการเกิดวิกฤตภายในภูมิภาคเอเชีย เกาหลีใต้ได้รับผล
กระทบไปด้วย จึงทำให้อัตราการเจริญเติบโตจาก 9% ลดเป็น -5% จากเหตุการณ์ดังกล่าว จึงทำให้
เกาหลีใต้เปิดเสรีทางด้านเศรษฐกิจ คือ ทั้งด้าน การค้า การลงทุน การเงิน ซึ่งผลของการเปิดเสรี
ทำให้กลไกตลาดมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นส่งผลทำให้เกาหลีใต้เป็นประเทศแรกในภูมิภาคที่ฟื้นตัว
จากวิกฤตได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้เวลาเพียง 2 ปี เนื่องจากรัฐบาลมีบทบาทเป็นเพียงผู้สนับสนุน ไม่ใช่
ผู้ควบคุมเหมือนแต่ก่อน จะเห็นได้ว่ารัฐบาลมีการปรับบทบาทของตนตามสภาวะเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ปัจจัยหลักที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ คือการพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ ในเรื่องการส่งเสริมการศึกษาของคนในสังคม ประกอบกับการที่อุตสาหกรรมของ
เกาหลีใต้เป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตโดยเน้นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและเน้นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งวอ
อก ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างมหาศาล จึงทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ต่อมา
เกาหลีใต้ได้เน้นการเปิดเสรีทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกจน
ทำให้เกาหลีใต้สามารถก้าวเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศ OECDได้

9 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ดีจังเลยทำให้เข้าใจเกี่ยวกับการเมืองมากขึ้นค่ะ
ทำให้เราสามารถทันเหตุการณ์สถานการณ์ในปัจจุบันมากมายเลย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ทำให้รู้ถึงระบอบการปกครองของเกาหลีมากขึ้น
และทำให้รู้ถึงผลกระทบจากน้ำมันแพงที่เกาหลีประสบปัญหา

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เป็นข้อมูลที่ดี ทำให้ทราบเกี่ยวกับประเทศเกาหลีเพิ่มมากขึ้น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เป็นข้อมูลที่ดี ทำให้ทราบเกี่ยวกับประเทศเกาหลีเพิ่มมากขึ้น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เกาหลีมีแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่น่าสนใจ

ประกอบกับ ประชากรในเกาหลี

มีความคิดรักชาตินิยมอยุ่มาก

ทำให้ เกาหลีได้แรงกระตุ้น และแรงพัฒนา

จากคนในประเทศของเค้าเอง




น่าเอาเป็นแบบอย่าง

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อืมแสดงว่าประวัติศาสตร์ของเกาหลีนี้มีอารายลึกซึ้งกว่าที่เราคิดไว้จังเลย..

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ประโยคที่ว่า "เกาหลีสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างมหาศาล จึงทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ต่อมา
เกาหลีใต้ได้เน้นการเปิดเสรีทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกจน
ทำให้เกาหลีใต้สามารถก้าวเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศ OECDได้
"


แสดงว่าต้องนับถือ นโยบายการพัฒนาประเทศของเค้าจริงๆ

มีการวางแผนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่ ชัดเจนมากๆ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ทำให้รู้ว่าประเทศเกาหลีทำไมถึงเจริญทุกวันนี้ ดีจัง

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณครับสำหรับบทความ